ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สมภพ ห่วงทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ประชากรเป้าหมายเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุของอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 33 คน การคัดเลือกเป็นแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์  ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์หาค่าความเชื่อถือของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค(Cronbach’s Alpha Coefficient) ด้านปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานผู้ดูแลผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.82 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า

ปัจจัยจูงใจมีคะแนนในการปฏิบัติงานในภาพรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ= 4.07, σ = 0.36)  โดยเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (μ = 4.31, σ = 0.47)  ด้านการดำเนินงานสาธารณสุข (μ = 4.08, σ = 0.42) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (μ = 4.04, = 0.40) ด้านผลประโยชน์ตอบแทน (μ = 4.01, σ = 0.45) และด้านการยอมรับนับถือ (μ=3.96, σ =0.49) ตามลำดับ

        จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรู้ความเข้าใจด้านการดำเนินงานสาธารณสุข การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ สนับสนุนให้มีผลประโยชน์ตอบแทน และสร้างกระบวนการให้เกิดการยอมรับนับถือ จะช่วยให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพมากขึ้น

References

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2561). สรุปผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก http://www.cbo.moph.go.th/cbo/index.php/ component/phocadownload/category/4-2017-10-11-03-59-26?download=143:2-61

เขมิกา กิตติพงศ์. (2558). ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทกรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด สำนักงานใหญ่ อาคารสุขุมวิท. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(2), 1-12.

จุฑามาส จันทร์ฉาย และคณะ. (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ ที่เป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 77.

จุรีพร คงประเสริฐ. (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน NCD คุณภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด

โชติกา สัตนาโค และจุฬาภรณ์ โสตะ. (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารการ พยาบาลและการศึกษา, 10(4), 32.

ณรงค์ ศรีเกรียงทอง และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการสร้างประสิทธิผลในงานขายของพนักงานที่ปรึกษางานขาย (PC) และพนักงานที่ปรึกษาความงาม (BA) ของบริษัทโมเดิร์นคาสอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติกส์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 1654-1671.

ประกาย จิโรจน์กุล. (2556). แนวคิด ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ และการนำมาใช้. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก

ปราณี สาวงศ์นาม. (2553). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลศรีธาตุ. (วิทยาปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปัณฑรีย์ คุ้มสุข. (2553). ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารที่บ้านในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อระดับน้ำตาลในเลือดและพฤติกรรมการควบคุมอาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วุฒิพล สกลเกียรติ. (2546). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา ER 644 การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้เรียนผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการการศึกษาต่อเนื่อง คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนา

พาณิช.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจัทรเมธากุล, และ นิลุมล นันตา. (2560). พฤติกรรมการดูแลเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2),100

สุวัฒน์ศิริ แก่นทราย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยางหลวงเหนือ ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 หัวข้อ สร้างเสริมสหวิทยาการผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC; 29 กรกฎาคม 2559; ณ มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,และสำนักงานหลักประกัน

สุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด

Lwanga, S. K. & Lemeshow, S. (1991). Sample Size Determination in Health Studies: a Practical Manual. Macmillan: World Health Organization.

Maslow A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Cho, J. E., Shaw, S., Karuranga, J. D., da Rocha Fernandes, A. W., Ohlrogge, B., & Malanda. (2018). IDF Diabetes Atlas: Global Estimates of Diabetes Prevalence for 2017 and Projections for 2045. FULL LENGTH ARTICLE, 138, P271-281

Gallup Poll [cited 11 มกราคม 2553]. Available from ; http://pirun.ku.ac.th/~g4968073/ report/475531/Motivation_Job_by_2.doc

World Health Organization. (2017). The Top 10 Causes of Death. Retrieved March 12, 2017, from http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs310/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30