ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วย โรคติดสุรา โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • นางกุสุมา แก้วแดง โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว, การรับรู้ภาระการดูแล, ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรา, ผู้ป่วยโรคติดสุรา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลของผู้ป่วยโรคติดสุรา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยโรคติดสุรา ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรา แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล ดัชนีความสอดคล้องกับ 1.0 และแบบสอบถามเพื่อวัดการรับรู้ภาระการดูแล เชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบค่าคะแนนของการรับรู้ภาระการดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวโดยใช้ Wilcoxon Signed – Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า

หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรา ผู้ดูแลมีการรับรู้ภาระการดูแลต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวช่วยลดการรับรู้ภาระการดูแลในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุราได้ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพจึงควรนำโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวไปปรับใช้ในการส่งเสริมเพื่อลดการรับรู้ภาระการดูแลผู้ดูแลป่วยติดสารเสพติด ผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ในคลินิกสุขภาพใจ คลินิกโรคเรื้อรัง และสถานพยาบาลในเครือข่ายโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ รวมถึงคลินิกบำบัดสุราของโรงพยาบาล

References

กนกวรรณ จังอินทร์, สมเดช พินิจสุนทร. (2560). พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต่อครอบครัว ของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 487-501.

โกวิท สุวรรณโณ. (2556). การรับรู้ความเข้มแข็งของครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของโรคกับการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ขวัญฤทัย ไล่สกุล. (2557). ผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ป่วยโรคติดสุรา.สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จรินทร์ยา เพชรน้อย. (2552). ภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, นิฤมล เผือกคง, และสมจิต หนุเจริญกุล. (2555). ผลลัพธ์ของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 17-35.

ญาดา จีนประชา. (2550). ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการช่วยเหลือของสมาชิกในครอบครัวแก่ผู้ป่วยติดสุราเพื่อป้องกันการติดซ้ำ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ

ดุษฎี เล็บขาว, เพ็ญนภา กุลนภาดล และระพินทร์ ฉายวิมล. (2562). ผลการให้คำปรึกษาครอบครัวแบบกลุ่มตามทฤษฎีระบบต่อความเข้มแข็งของครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน. เวชสารแพทย์ทหารบก, 62(4),179-191.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิง จิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุษณี เอี่ยมสอาด. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุราวิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2554). จิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวิชาญการพิมพ์.

ประเทือง ละออสุวรรณ และนภา จิรัฐจินตนา. (2561). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ต่อภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 12(2), 37-47.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล. (2555). แนวทางการเสริมศักยภาพครอบครัวในตำบลโคกคราม จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

รัชจณา สิงห์ทอง และชนมาภรณ์ พงศ์จันทรเสถียร. (2555). ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล และพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(1), 19-27.

ลัดดาวัลย์ แดงเถิน. (2555). ผลของรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าสำหรับผู้ป่วยในที่ติดแอลกอฮอล์: ศึกษาผลลัพธ์เพื่อสร้างรูปแบบสำหรับผู้ป่วยนอก.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ลัดดาวัลย์ แดงเถิน, พิชัย แสงชาญชัย, และณัฐนาฏ สระอุบล. (2554). คู่มือสำหรับผู้บำบัดการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดสุราแบบผู้ป่วยนอก รูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. ม.ป.ท.

วาสนา นามเหลา, ชนัดดา แนบเกษร และดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(2), 23-34.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, อิงคฏา โคตนารา และศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2555). เริ่มดื่มสุราเป็นเรื่องง่ายแต่แสนลำบากในการเลิกดื่มสุรา. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(2), 1-14.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือให้การปรึกษารายบุคคลและครอบครัว. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สิรภัทร โสตถิยาภัย, นวพร ดำแสงสวัสดิ์, ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์. (2560). รูปแบบการให้คำปรึกษาครอบครัว.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 282-290.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.

เสาวนีย์ คงนิรันดร, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ชนัดดา แนบเกษร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(3), 118-132.

อรัญญา สาลี และเสาวคนธ์ วีระศิริ. (2563). การปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดสุรา: การศึกษาหลายกรณี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 188-194.

Corey, G. (2008). Theory and Practice of Group Counseling. USA.: Thomson book/Cole.

Faul F. G*Power Version 3.1.9.2 [Internet]. 2014 [cited 2018 Mar 6]. Available from http://www.poycho.uni-duessldorf.de/abteilungen/aap/gpower3/.

Horowitz, A. V., & Reinhard, S. D. (1995). Ethic Difference in Caregiver Duties and Burdens among Parents and Sibling of Persons with Severe Mental Illness. Journal of Health and Social Behavior, 36(6), 138-150.

Paparrigopoulos, T., Tzavellas, E., Karaiskos, D., Stefanis, N., Mourikis, I., Stahtea, X., & Liappas, J. (2009). Family Burden in Alcohol Dependence. Retrieved from http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0924933809706820

Sherman and Bohlander. (1998). Managing Human Resouce, South-Weatern College Publishing.

Thompson, E. H., & Doll, W. (1982), The Burden of Family Coping with Mentally ill: an in Vesible Crisis. Family Relation, 31, 379-388.

Zarit, H. S., Reever, E. K., & Bach-Peterson, J. (1980). Relatives of the Impaired Elderly of Feeling of Burden. The Gerontologist, 20, 649-655.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30