ความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดขอนแก่นต่อแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง ผลกระทบต่อสุขภาพ การดำเนินงานและวิธีการป้องกันตนเองในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท สิริพรหมภัทร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น
  • กิรณา แต้อารักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

แหล่งกำเนิดฝุ่นละออง, ผลกระทบต่อสุขภาพ, การดำเนินงาน, การแก้ปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ  ความคิดเห็นในการดำเนินงานและวิธีการป้องกันตนในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ของประชาชน  จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือจำนวน 850 คน เครื่องมือที่ได้จากการทดลองนำไปหาความเที่ยง โดยมีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.70 สถิติที่ใช้วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองควัน เขม่า เถ้า เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ควันจากการประกอบอาหาร 2) ฝุ่น/ควันรถ จากยานพาหนะ และ 3) ควันจากธูป (M = 2.43, 2.32, 1.84 ตามลำดับ) 2) ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ เกี่ยวกับอาการช่วงฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในจังหวัดขอนแก่น เรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ 1) อาการคัดจมูก 2) อาการน้ำมูก 3) อาการแสบจมูก คิดเป็นร้อยละ 58.9, 47.5, 38.5 ตามลำดับ 3) การดำเนินงานในการป้องกันละอองฝุ่น PM2.5 ของประชาชน 3 อันดับแรก 1) ควรรณรงค์ให้ทุกคนใส่หน้ากากปิดจมูกและปากเพื่อป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 2) ควรมีมาตรการออกมารองรับการดำเนินงานและป้องกันตนเองและสิ่งแวดล้อมปัญหาฝุ่นละอองอย่างชัดเจน และ 3) ควรมีมาตรการในการเผาขยะ, เผาถ่าน, เผาอ้อย, เผาไร่นา เรียงจากมากไปหาน้อย คิดเป็นร้อยละ 14.25, 6.95, 3.18 ตามลำดับ 4) การแก้ปัญหาตนเองจากละอองฝุ่น PM2.5 ของประชาชน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ใช้ผ้าปิดจมูกและปาก 2) ช่วยกันลดการเกิดมลพิษทางอากาศเช่นงดเผาอ้อยเผาขยะ เผาฟางข้าว ลดการก่อสร้าง ลดการใช้รถยนต์หรือพาหนะต่างๆ ที่ปล่อยควันดำออกมา และ 3) หลีกเลี่ยงการสัมผัสที่ที่มีฝุ่นละอองมากเรียงจากมากไปหาน้อย คิดเป็นร้อยละ 45.18, 26.35, 20.59 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะมาตรการการส่งเสริม การป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ได้แก่ การรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศ หน่วยงานรัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการวางแผนในการ ลดและเลิกแหล่งกำเนิดฝุ่นอย่างต่อเนื่อง และควรมียุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวของจังหวัด  หน่วยงานรัฐควรมีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ สร้างความเข้าใจที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสาธารณสุขพ.ศ. 2535 ให้ประชาชนเข้าใจไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย ส่งผลให้ปัญหาฝุ่นละอองลดน้อยลงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป



References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนว

ทางการจัดการฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เขตควบคุมมลพิษและพื้นที่เฉพาะ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมมลพิษ. (2562). คู่มือปฏิบัติการจัดการ

ปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษ.

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ.2563.. แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย , 25 (1) ,461-474.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพแห่ง

จุุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563 จาก

http://web.krisdika.go.th/law

พรพรรณ สกุลคูและธนาวุธ โนราช.คุณภาพอากาศของจังหวัดขอนแก่นระหว่างปี 2561-2562 และข้อเสนอแนะ ใน

การเฝ้าระวัง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14 (2), 1-8.

พรสุดา มโนชัย,พรพรรณ สกุลคู.2564.ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.

วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14 (4), 41-48.

เมตตา เก่งชูวงศ์.(2561).รายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศและผลกระทบต่อประชาชน ใน

เขตชุมชนเทศบาลเมืองมหาสารคาม. หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ราชกิจจานุเบกษา.(2561). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561.

หน้า 30 เล่ม 135 ตอนที่ 27.

ศรายุทธ ลาภบุญเรือง. (2552). การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองและสภาวะสุขภาพจากฝุ่นละอองต่อ

ประชาชนที่อยู่อาศัยในตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริอุมา เจาะจิตต์และคณะ. (2562). การประเมินความเสี่ยงในการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร

ระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้และไกลโรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27 (2) ,336-348.

สุดจิต ครุจิตและคณะ. (2556). ระบบเฝ้าระวังฝุ่นละอองและคุณภาพอากาศแบบบูรณาการระยะที่ 2. มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีสุรนารี.

อังศินันท์ อินทรกำแหงและกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2563.รายงาน

การศึกษาฉบับสมบูรณ์(Final Report)การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

อนุสรา รอดธานี. (2558). ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ภายในห้องโดยสารรถโดยสารสาธารณะใน

กรุงเทพฯ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Baumgartner, J., Schauer, J.J., Ezzati, M., Lu, L., Cheng, C., Patz, J. and Bautista, L.E. 2011.

Patterns and predictors of personal exposure to indoor air pollution from biomass

combustion among women and children in rural China. Indoor Air 21: 479-488.

Ranathunga, N., Perera, P., Nandasena, S., Sathiakumar, N., Kasturiratne, A. and

Wickremasinghe, R.J.B.P. 2019. Effect of household air pollution due to solid fuel

combustion on childhood respiratory diseases in a semi urban population in Sri Lanka.

: 306.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31