การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
รูปแบบ, สหวิชาชีพ, การฝากครรภ์, สุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนารูปแบบการการเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart 1 วงรอบ ศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 277 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการจัดกลุ่มเนื้อหา สรุปประเด็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า
ระยะที่ 1 สถานการณ์และปัญหาการฝากครรภ์ 12 สัปดาห์ พบว่ามีอัตราการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 46 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 60) วิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนในที่ประชุมตกลง แก้ไขปัญหาโดยการสร้างรูปแบบใหม่ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ หลักการ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย โครงสร้าง การดำเนินงาน ใช้นวัตกรรม VAlCHOR Model เงื่อนไขสู่ความสำเร็จและผลผลิต โดยเน้นพัฒนาจิตใจ เสริมพลังเรื่องการสนับสนุนการให้สุขภาพมารดาและทารกสุขภาพดีขึ้น ให้มีผู้รับผิดชอบข้อมูล มีการจัดบริการคลินิก เน้นเรื่องทักษะและวิธีการการจัดการสุขภาพ
ระยะที่ 2 นำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้การเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ทั้ง 7 ขั้นตอน ในสถานบริการอำเภอหนองพอก จำนวนทั้งสิ้น 13 แห่ง
ระยะที่ 3 ผลการประเมินรูปแบบการเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ การประเมินรูปแบบมีทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านความถูกต้อง ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ ผลการประเมินทุกด้านและภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยาย การฝึกปฏิบัติและระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการติดตามหญิงตั้งครรภ์ใหม่เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ระยะที่ 4 ผลการสะท้อนกลับข้อมูล ปัญหาจากการประชุมกลุ่มระดมสมอง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย พบว่า ไม่สามารถฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ได้ เนื่องจากความไม่สะดวกและวันนัดตรงกับการทำงานประจำ พร้อมทั้งเป็นครรภ์แรก ไม่มั่นใจว่าตนตั้งครรภ์ รอให้ครรภ์โตก่อนจึงมาฝากครรภ์
คำสำคัญ: รูปแบบ, สหวิชาชีพ, การฝากครรภ์, สุขภาพ
References
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. สำนักพิมพ์คำสมัย: กรุงเทพฯ.
สายใจ โฆษิตกุลพร. (2555). การฝากครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานวิจัย
Tariku, A., Melkamu, Y., & Kebede, Z. (2010). Previous utilization of service does not improve timely booking in antenatal care: Cross sectional study on timing of antenatal care booking at public health facilities in Addis Ababa. Ethiopian Journal of Health Development, 24(3), 226-233.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน