การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • นุจรี ยานวิมุต โรงพยาบาลสงขลา

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรง หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การพัฒนาระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา การดำเนินการวิจัย เป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อการดำเนินงานในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรง ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรง จำนวน 9 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา โดยผู้วิจัยทบทวนเอกสาร ตำรา วรรณกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 มาสรุปสังเคราะห์ แล้วจึงยกร่างรูปแบบระบบแล้วจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t – test ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยระยะเวลา ผลการวิจัยพบว่า

1.สถานการณ์ของระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา ได้แก่ การขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขา กระบวนการดูแลล่าช้า บุคลากรขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางการบาดเจ็บสมอง และอัตรากำลังไม่เพียงพ

2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อการดำเนินงานในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา ได้แก่ การเข้าถึงและการเข้ารับบริการที่รวดเร็ว การทำงานเป็นทีม การมีอัตรากำลังและอุปกรณ์ที่เพียงพอ การให้ข้อแก่มูลญาติ การพัฒนาระบบ Fast Track Neurotrauma และพัฒนาความรู้และศักยภาพแก่พยาบาล

3. ระบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรง ที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลา ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Access ขั้นตอนที่ 2 Assessment ขั้นตอนที่ 3 Resuscitation ขั้นตอนที่ 4 Reassessment ขั้นตอนที่ 5 Plan of Care ขั้นตอนที่ 6 Consultation และขั้นตอนที่ 7 Definitive Care

4. ระยะเวลาในขั้นตอนการเข้าถึงงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (E.R.) โรงพยาบาลสงขลาของระบบ EMS ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยโดยการส่งทำ CT Brain (Door to CT Brain) และขั้นตอนตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งออกจาก E.R. หลังพัฒนาระบบ มีแนวโน้มลดลง

References

กฤตยา แดงสุวรรณ, ชฎาพร ฟองสุวรรณ และกฤษณี กมลมาตยกุล. (2558). การสอนงานพยาบาลใหม่ความท้าทายของงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: กรณีศึกษาโรพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 35-45.
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลขอนแก่น. (2553). การดูแลผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินขั้นสูง = KATEC : Khon Kaen Advance Trauma and Emergency Care. ขอนแก่น: ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น.
กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิปะธรรม และลัดดา มีจันทร์. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิถ์, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 1, 24-37.
จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์ และรัตนา พรหมบุตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ โรงพยาบาลกระบี่ The Development of Nursing Care Model for Severe Multiple Injury in Krabi Hospital. วารสารพยาบาลทหารบก, 20, 339-350.
ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน). (2562). ระดมทุนซื้อเครื่องมือแพทย์. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562 จาก https://www.efinancethai. com/astestNews/LatestNewsMain.aspx?release= y&ref= M&id=U3hZMDRZNXNqTnM9.
นวลทิพย์ ธีระเดชากุล, นุชศรา พรมชัย และนงลักษณ์ พลแสน. (2561). ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management Guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 32, 165-177
นันทิยา รัตนสกุล และกฤตยา แดงสุวรรณ. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะคุกคามชีวิตในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8, 1-15.
นิยดา อกนิษฐ์, สุชาดา วิภวกานต์ และสุภาณี สิทธิสาร. (2556). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMIโรงพยาบาลกระบี่. วารสารกองการพยาบาล, 40(3), 70-84.
ปรัชญา พลอาสา และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(2), 79-89.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2560). ขาดแคลนแพทย์'ผู้เชี่ยวชาญปัญหารอแก้ทั้งระบบ สธ. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 25562 จาก https://www.hsri.or.th/people/media/waiting-categorize/detail/ 4193.
ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร และคณะ. (2560). นิยามและปัจจัยของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาลโดยการทำกลุ่มโฟกัส. วารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัยจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย, 61(4), 511-524.
วิบูลย์ เตชะโกศล. (2557). ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. วารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(6), 524-529
สวิง ปันจัยสีห์, นครชัย เผื่อนปฐม และกุลพัฒน์ วีรสาร. (2556). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองแบบองค์รวม. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 25562 จาก
อัญชลี ถิ่นเมืองทอง, อรทัย ศิลป์ประกอบ, ศรีวรรณ มีบุญ และเยาวรัตน์ รุ่งสว่าง. (2559). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนในโรงพยาบาลปทุมธานีโดยใช้แนวคิดการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารกองการพยาบาล, 43, 5-23.
Bruce, L., & Andrew, N. (2005). Neuroimaging in Traumatic Brain Imaging. NeuroRx, 2(2), 372–383.
Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.
Joseph, P., Schacht, Raymond, F., Myrick, A. H. (2013). Functional Neuroimaging Studies of Alcohol Cue Reactivity: a Quantitative Meta Analysis and Systematic Review. Wiley Online Library. Retrieved November 18, 2019 from https://onlinelibrary.wiley.com/ doi/abs/ 10.1111/j.1369-1600.2012.00464.x.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-20