ผลการให้ความรู้ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีภาวะอ้วน

ผู้แต่ง

  • นภัสพร ศรีโสภา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวไผ่

คำสำคัญ:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), ภาวะอ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่า ดัชนีมวลกาย ความรู้ การปฏิบัติตน ก่อนและหลังการให้ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวเกินกว่าเกณฑ์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่โปรแกรมการให้ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการแสดงออกทางอารมณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.722 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการให้ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีค่าดัชนีมวลกาย คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตน ดีกว่าก่อนการให้ความรู้ อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2554). โรคอ้วนในวัยเรียน. กรุงเทพฯ: หจก.เบสท์ กราฟฟิด เพรส.
นันทิชา แปะกระโทก. (2555). แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านโภชนาการและการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะอ้วนลงพุง. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2562 จาก http:// 03.157.71.139/group_sr/allfile/ 1423731001.pdf. (30 ธันวาคม 2560).
นิชาภา เลิศชัยเพชร. (2553). พฤติกรรมสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินของประชากรวัยทำงาน: กรณีศึกษา พื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรีในการประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์. (2554). การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวทางปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). ผลการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชากร ปี 2554. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562 จาก http:// statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx.
สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์. (2554). ตัวบ่งชี้และช่วงของค่าที่ใช้บ่งชี้โรคอ้วน. วารสารสงขลานครินทร์, 29(2), 89-6.
อัญชลี ศรีจำเริญ. (2553). อาหารและโภชนาการป้องกันและบำบัดโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-24