ผลของการให้ทันตสุขศึกษาในผู้ปกครองต่อปริมาณคราบจุลินทรีย์ของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองบัน ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • วิทยา พลาอาด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, โปรแกรมทันตสุขศึกษา, ฟันผุในเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ทันตสุขศึกษาในผู้ปกครองต่อปริมาณคราบจุลินทรีย์ของเด็กก่อนวัยงเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองบัน ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครอง จำนวน 44 คน และเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 44 คน ใช้ระยะเวลา ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ.2562 โดยใช้แบบสอบถามความรู้ในการดูแล ทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง แบบประเมินทักษะการแปรงฟัน และแบบบันทึกปริมาณคราบจุลินทรีย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired Sample T - Test) ผลการวิจัยพบว่า

หลังได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ยของปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันลดลงทุกตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การให้ทันตสุขศึกษาในผู้ปกครองที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดคราบจุลินทรีย์ในช่องปากของเด็กได้ ดังนั้น ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากระยะยาว เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

References

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2551). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องประดับประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549 - 2550 ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสามทรัพย์เจริญจำกัด.
ชลีกุล วงษ์ถาวร. (2548). โปรแกรมสุขศึกษาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประวิ อ่ำพันธุ์ และคณะ. (2557). ผลของโปรแกรมประยุกต์การพัฒนาความสามารถในการดูแลช่องปากแบบใกล้ชิด ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็กในปกครองของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารทันตาภิบาล, 25(1), 57-68.
ลลิตกร พรหมมา. (2554). ฟันน้ำนมผุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561. จาก www.info.dent.nu.ac.th/ dentalHospital/index.php/2012-09-18-18-57-27/7-2013-01 -05-23-27-44/27-2013-01-05-23-28-36
วาสนา สุคนธ์. (2552). การประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย. สารนิพนธ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิลาวัณย์ มากประดิษฐ์. (2558). ประสิทธิภาพของการอบรมโดยทันตบุคลากรและครูผู้ดูแลเด็กต่อการดูแลช่องปากลูกก่อนวัยเรียนของแม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสุขภาพช่องปากประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2559). อัตราฟันผุในกลุ่มอายุ 3 ปี จำแนกรายจังหวัด พื้นที่ 5 จังหวัด ปี 2558 - 2559. (การสำรวจสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด ปี 2558 - 2559).
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสตูล. (2558). รายงานการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3 ปี. (รายงานสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กทุกกลุ่มวัย).
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2555). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุทิน ชนะบุญ และธีรศักดิ์ พาจันทร์. (2560). การเขียนโครงร่างการวิจัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561. จาก www.kkpho.go.th/ index/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-20