ผลโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. เชี่ยวชาญด้านป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • มุจลินท์ คำล้อม ึคณะโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปฎิพงศ์ นาคนวล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หนึ่งฤทัย แสงสุข โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง,, อสม.เชี่ยวชาญ,, ควบคุมระดับความดันโลหิต

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรม อสม. เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมความดันโลหิต ในผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 27 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การพัฒนาศักยภาพ อสม. โดยจัดอบรมตามโปรแกรม ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการตามภารกิจ อสม. และขั้นที่ 3 ขั้นสรุปและประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า

พฤติกรรมการดูแลตนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลังการเข้ารับโปรแกรม ทั้งด้านการออกกำลังกาย (p<0.001) การจัดการความเครียด (p=0.029) การรับประทานยา (p<0.001) และการดูแลตนเองโดยรวม (p<0.001) สูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่มีความแตกต่างกัน

ดังนั้น ควรนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบส่งเสริมศักยภาพ อสม. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

References

คณิตตา อินทบุตร. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับแรงงานสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอู่ทอง, วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(1), 73-83

จรูญศักดิ์ พันธวิศิษฎ์. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปและการเต้นไลน์แดนซ์ที่มีต่อความดันโลหิต ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ และการทรงตัวของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองหนองคาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(1), 101-117.

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์. (2562). ผลการใช้จัดการความเครียดต่อความสามารถจัดการความเครียดและระดับความเครียดของผู้สูงอายุ. วารสารเกื้อการุณย์, 26(2), 66-77.

ชญาภัทร พันธ์งาม, รมย์กมล วิจิตรจันทร์, และดาวเรือง สายจันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันสูงของประชาชาชน. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 4(1), 146-151.

ฐิติมา โกศัลวิตร, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, และทานตะวัน คำวัง. (2560). ผลโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(2), 28-40.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, และสราญรัตน์ ลัทธิ. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก. กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข, กองโรคไม่ติดต่อ, กรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563 จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/127178/.

ธีระพล ชัยสงคราม. (2552). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเกลือต่ำ ต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กลุ่มพัฒนาระบบสุขภาพสาธารณสุข. สำนักโรคไม่ติดต่อ การควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2563 จาก http://www.thainch.com/document/hot%news/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_62.pdf.

ศุลีพร สร้อยแก้ว. (2557). ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมความร่วมมือในการ รักษาด้วยยาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(1).13-33.

สถิติสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563 จาก http://bps.moph.go.th.

เสาวณีย์ ขวานเพรช, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีปะเสน. (2554). ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, ฉบับพิเศษ, 9-20.

อัจฉราภรณ์ นีละศรี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 35(2), 77-88.

อรอุมา ปัญญโชติกุล, สุธินา เศษคง, สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ. (2560). ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิต โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขใต้, 4(2), 245-255.

อาภรณ์ สิงห์ชาดา, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, สมใจ นกดี. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียดของผู้สูงอายุ. วารสาร มฉก. วิชาการ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 19(38), 49-60.

อำพล จินดาวัฒนะ, สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, และสุรณี พิพัฒน์โรจนกมล. (2551). การเสริมสร้างสุขภาพ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 11(2), 1-11.

Giuseppe M, et al. (2007). 2007 Guidelines for the management of arterial hypertension the Task For for the Management of Arterial Hypertension of the European Society of Hypertension (ESH) and of the European Society of Cardiology (ESC). European Heart Journal, 28, 1462-1536

World Health Organization, International Society of Hypertension Writing Group. (2003). 2003 World Health Organization (WHO)/International Society of Hypertension (ISH).

House, J.S. The association of Social relationship and activities with mortality: Community health study. American Journal Epidemiology 1981;3(7):25-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30