การศึกษาการขึ้นทะเบียน การต่อบัตรประกันสุขภาพ กลุ่มโรค และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของแรงงานต่างด้าวในโรงพยาบาลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • กรณมณีธนา ปุณณศิริมั่งมี โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
  • นันทนา โควัน โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
  • สาวิตรี จันทะกุล โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
  • สมพร แก้วแหยม โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
  • เอกชัย ยอดขาว โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

แรงงานต่างด้าว, ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล, ผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน และต่อบัตรประกันสุขภาพ สถานการณ์โรค ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและการใช้บริการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในกลุ่มที่มีบัตรประกันสุขภาพ และกลุ่มที่ไม่มีบัตรประกันสุขภาพ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของแรงงานต่างด้าว ในกลุ่มที่มีบัตรประกันสุขภาพ กับรายได้ที่ได้รับจากบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังในแรงงานต่างด้าวที่มารับบริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ 2559-2562 จากฐานข้อมูล HOSxP                   ของโรงพยาบาลตาพระยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. จำนวนการขึ้นทะเบียน และต่อบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ 2559-2562 มี 521, 1,136, 2,474, และ 1,692 ราย ตามลำดับ

2. สถานการณ์โรคในแรงงานต่างด้าวที่มารับการรักษาพยาบาล ในปี 2559-2560 และ 2562 พบว่าโรคอันดับหนึ่งในแผนกผู้ป่วยนอกคือการดูแลการตั้งครรภ์ ปี 2561 คือวัณโรค ส่วนแผนกผู้ป่วยในปีงบประมาณ 2559-2562 คือ การคลอดปกติ

3. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลปี 2559-2562 ในกลุ่มมีบัตรประกันสุขภาพเป็นจำนวนเงิน 1,008,00 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.69 ในกลุ่มที่ไม่มีบัตรประกันสุขภาพ (ชำระเงินเอง) เป็นจำนวนเงิน 7,438,552.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 78.90 และในกลุ่มผู้ป่วยอนุเคราะห์เป็นจำนวนเงิน 980,943.29 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.40 จากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด (กลุ่มผู้ป่วยอนุเคราะห์ คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีเงินชำระ/ค้างชำระ โรงพยาบาลรับภาระค่าใช้จ่ายแทน)

4. เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในกลุ่มมีบัตรประกันสุขภาพกับรายได้ที่ได้รับจากบัตรประกันสุขภาพ พบว่า ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาพยาบาลกลุ่มที่มีบัตรประกันสุขภาพ ถูกใช้เพียง ร้อยละ 22.20 ยังมีรายได้คงเหลือในกองทุนประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวอีก ร้อยละ 77.80 จากรายได้ที่ได้รับจากบัตรประกันสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์จากบัตรประกันสุขภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของภาครัฐเพื่อขึ้นทะเบียนบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้อง และนำข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยไปวางแผนด้านงบประมาณ ด้านบุคลากรและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ รวมถึงการวางแผนการดูแลรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คำแนะนำของการประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติปี 2015. กรุงเทพฯ:กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ กองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวทางการบริการที่เป็นมิตร แก่แรงงานต่างด้าว ผู้ติดตาม และเหยื่อจากการค้ามนุษย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มปัญหาแรงงานต่างด้าว. สาระน่ารู้ ไลฟ์สไตล์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562 จาก http://community. jobdynamo.com.

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย. (2562). สถานการณ์แรงงานอพยพข้ามชาติในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562 จาก http://www.unithailand.org.

ธีรดา สุธีรวุฒิ. (2559). การดำเนินงานสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน จาก http://www.boe.moph.go.th/files/meeting/ slide_IHR_2DEC_pdf/3.pdf

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. (2560). การกำหนดหลักเกณฑ์การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: กองบรรณาธิการประชาไท.

ประนอม คำเที่ยง. (2560). นโยบายการดำเนินงานด้านสุขถานะคนต่างด้าว/แรงงานต่างด้าว. เอกสารนำเสนอในการประชุมสัมมนาพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพคนต่างด้าว/แรงงานต่างด้าว. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://fwf.cfo.in.th/Portals/0/big/1(2560).

พัชรี ประไพพิณ, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์, และชวนันท์ สุมนะเศรษฐกุล. (2561). การใช้บริการสุขภาพของแรงงาน ข้ามชาติในกรุงเทพมหานคร:อกรณีศึกษาโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 89-100.

โมไนยพล รณเวช. (2561). การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์แรงงานต่างด้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://repository.turac.tu.ac.th:8080/handle/6626133120/565.

รัชนุช ปัญญา, พวงเพ็ญ ชูรินทร์ และดาราวรรณ รองเมือง. (2558). การศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและโรคของแรงงานต่างด้าวในโรงพยาบาลเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 6(1), 109-118.

ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข, ธนพร บุษบาวไล, ดนัย ชินคำ, มณีโชติรัตน์ สันธิ, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และ พัทธรา ลีฬหวรงค์. (2561). การจัดลำดับความสำคัญภาวะสุขภาพและโรคไม่ติดต่อของคนต่างด้าวในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(4), 657-667.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การให้บริการสาธารณสุขแก่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาใช้แรงงานทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย. (2562). สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.moph.go.th.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถานการณ์ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชากรต่างด้าว ใน 31 จังหวัดชายแดน ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ 3 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2562). ข้อมูลสถิติการทำงานของคนต่างด้าว. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562 จาก https://www.doe.go.th.

สุรัชนี เคนสุโพธิ์.(2560). การศึกษาสภาพการจ้างงาน ปัจจัยจูงใจส่งเสริม และกระบวนการเข้าสู่การจ้างงานแรงงานข้ามชาติของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ในจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 36-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31