คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเครือข่ายสุขภาพอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วสุพัชร์ แก้วกิ้ม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเครือข่ายสุขภาพอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 140 คน จากประชากรจำนวน 216 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายโดยการหยิบฉลากแบบไม่คืนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.75, SD=0.43) โดยด้านความสัมพันธ์ในสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (M=4.12, SD=0.47) สำหรับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.81, SD=0.38) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการใช้ความสามารถเพื่อองค์กร (M=4.01, SD=0.43)
  2. คุณภาพชีวิตในการทำงานความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r=0.747, p-value< 0.001) ควรมีการส่งเสริมบรรยากาศการทำงานในองค์กรให้มีความน่าอยู่ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมสร้างความผูกพันต่อองค์กร เพื่อให้บุคลากรมีความรัก และความภาคภูมิใจในองค์กรของตนเอง

References

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
เดชา แซ่หลี และคณะ. (2557). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ) District Health System:DHSสำนักบริหารการสาธารณสุข : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี.
ปนัดดา ตันติธนดำรง และชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ
ของพนักงาน บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
พงษ์เทพ เงาะด่วน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของ
พนักงาน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.)
ยมนา ไพศาลพัฒนสกุล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรณีศึกษา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย มหิดล.)
วรวรรณ ตอวิวัฒน์. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การกรณีศึกษา ข้าราชการกรมศุลกากรที่สังกัดส่วนกลาง. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.)
เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร วิทยาลัยราชพฤกษ์. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ, Ernst Tenambergen (2557). การบริหารจัดการบริการเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ.ปทุมธานี: นโมพริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.
เสาวลักษณ์ รำเพยพล. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
เอื้ออารี เพ็ชรสุวรรณ. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Wiersma, W. & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28