การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การป้องกันและควบคุม, โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังม่วงอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่นจำนวน 94 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธี KR20 เท่ากับ .76 และได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า
1. ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 73.40) การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 84.14)
2. ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คือขาดความร่วมมือจากประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคเครื่องพ่นหมอกควันชำรุดบ่อยขาดทรายกำจัดลูกน้ำ
3. ระดับความรู้ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.502, p-value<0.05)
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ควรมีการให้ความรู้ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ รวมทั้งมีการบูรณาการกับการมีส่วนร่วมและเข้ากับกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ต่อไป
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563 จากhttps://ddc.moph.go.th/thaivbd/
กลุ่มงานควบคุมป้องกันโรค. (2563). ข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2563. ขอนแก่น:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น.
คู่มือ อสม. ยุคใหม่. (2558). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
จำลอง แววกระโทก, สำเริง แหยงกระโทก และชุภาศิริ อภินันท์เดชา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ บทบาทของผู้นำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอจังหวัดนครราชสีมา.การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการ งานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, 17 มิถุนายน 2559.นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
นฤพล ปัญญา. (2557). การดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและวิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ประเทือง ฉ่ำน้อย. (2558). การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรค ไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข. กรณีศึกษา:อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
อติเทพ จินดา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านในจังหวัดพังงาวารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(3), 555-568.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mcgraw-Hill.
Wiersma, W., & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน