การค้นหาเชิงรุกและต้นทุนในการค้นหาวัณโรคปอดเชิงรุก โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด ค้นหาเชิงรุก ต้นทุนประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยแบบ Cross-Sectional Descriptive Study นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของผู้ป่วยเป็นวัณโรค และศึกษาต้นทุนของการดำเนินการค้นหาวัณโรคปอดเชิงรุก เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล HOSxP ของโรงพยาบาลตาพระยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
ประชากรที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้นจำนวน 1,705 คน พบว่ามีผู้ที่มีผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติจำนวน 352 คน ในจำนวนนี้พบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ทั้งสิ้นจำนวน 14 ราย (ผลการตรวจเสมหะโดยวิธีย้อมเชื้อเป็นบวกอย่างน้อย 1 ครั้ง 9 ราย, อาการแสดงเข้าได้กับวัณโรคปอด 3 ราย และ GeneXpert ให้ผลบวกต่อวัณโรคปอด 2 ราย) โดยพบส่วนใหญ่เป็นชาวไทยร้อยละ 92.86 เพศชายร้อยละ 78.57 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 50.39 ปี (สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 17.58 ปี) อาการและอาการแสดงหลักพบว่า ส่วนใหญ่ไม่พบอาการและอาการแสดงคิดเป็นร้อยละ 71.43 ตามด้วย ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ และไอเสมหะปนเลือด กับไข้เรื้อรัง เท่ากับร้อยละ 71.43 และ 7.14 ตามลำดับ อัตราป่วยวัณโรคปอดรายใหม่รายกลุ่มเสี่ยงการค้นหาวัณโรคปอดเชิงรุก พบว่าอัตราป่วยมากที่สุดในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีคิดเป็น 7,692.31 ต่อประชากรแสนคน ตามด้วยผู้สัมผัสร่วมบ้าน และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่ากับ 1,748.25 และ 554.79 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ต้นทุนการค้นหาวัณโรคปอดเชิงรุกในทัศนะของผู้ให้บริการเท่ากับ 220,437.16 บาท และอัตราส่วนต้นทุนในทัศนะของของผู้ให้บริการเท่ากับ 15,745.51 บาท
ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่จากการค้นหาเชิงรุกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ไม่พบอาการและอาการแสดง อัตราป่วยวัณโรคปอดรายใหม่สูงสุดในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้นทุนในทัศนะผู้ให้บริการการดำเนินการค้นหาวัณโรคปอดเชิงรุกเท่ากับ 220,437.16 บาท อัตราส่วนต้นทุนในทัศนะของของผู้ให้บริการเท่ากับ 15,745.51 บาท ควรผลักดันนโยบายการค้นหาวัณโรคปอดเชิงรุกเป็นนโยบายสำคัญ
References
โครงการประเมินด้านเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. (2556). คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ วัชรินทร์ พี.พี.; 2556
แนวทางการควบคุมวัณโรคในประเทศไทย พ.ศ.2561. (2561). [online] [cited 2019 Oct 5].Available from: https://www.tbthailand.org/download/Manual/NTP2018.pdf
ปราชญ บุณยวงศวิโรจน. (2554). สถานการณวัณโรคของประเทศไทยและแนวทางแกไข. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2554, 1, 232-5.
Aaron, L., Saadoun, D., Calatroni, I., Launay, O., Memain, N., et al. (2004). Tuberculosis in HIV-Infected Patients: a Comprehensive Review. Clin Microbiol Infect, 10, 388–398.
B Samb, D., Henze, C. L. (1997). Daley Methods for Diagnosing Tuberculosis among in-Patients. Int J Tuberc Lung Dis, 1, 25-30.
Cain, K. P., McCarthy, K. D., Heilig, C. M., et al. (2010). An Algorithm for Tuberculosis Screening and Diagnosis in People with HIV. The New England Journal of Medicine, 362(8), 707-16.
Getahun, H., Gunneberg, C., Granich, R., Nunn, P. (2010). HIV Infection-Associated Tuberculosis: the Epidemiology and the Response. Clin Infect Dis, 50(Suppl 3), S201–S207.
Lillebaek, T., Dirksen, A., Vynnycky, E., Baess, I., Thomsen, V. O., et al. (2003). Stability of DNA Patterns and Evidence of Mycobacterium Tuberculosis Reactivation Occurring Decades After the Initial Infection. J Infect Dis, 188, 1032–1039.
Monkongdee, P., McCarthy, K. D., Cain, K. P., et al. (2009). Yield of Acid-Fast Smear and Mycobacterial Culture for Tuberculosis Diagnosis in People with Human Immunodeficiency Virus. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine, 180(9), 903–8.
Richard James, Keovathanak Khim, Lydia Boudarene, Joanne Yoong, Chea Phalla, et al. (2017). Tuberculosis Active Case Finding in Cambodia: a Pragmatic, Cost-Effectiveness Comparison of Three Implementation Models. BMC Infectious Diseases, 17, 580.
WHO. (2019). Global Tuberculosis Report 2019. [online] [cited 2019 Oct 5]. Available from: https://www.who.int/tb/publications/global_report/tb19_Report_country_profiles_15October2019.pdf?ua=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน