ความรู้การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดของเด็กวัยเรียนอายุ 5-9 ปี และกลไกการดำเนินงานทีมผู้ก่อการดีระดับทองแดง ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ปี 2562

ผู้แต่ง

  • ฝนทิพย์ พริกชู สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • นฤมล รักษายศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด, ทีมผู้ก่อการดีระดับทองแดง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ใช้วิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินความรู้การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดของเด็กวัยเรียนอายุ 5-9 ปี และศึกษากลไกการดำเนินงานทีมผู้ก่อการดีป้องกันการจมน้ำระดับทองแดง ในเขตสุขภาพที่ 12 กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนที่มีอายุระหว่าง 5-9 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 568 คน และทีมผู้ก่อการดีระดับทองแดง ปี 2561 จำนวน 11 ทีม เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินผลการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และแบบสัมภาษณ์กลไกการขับเคลื่อนงานทีมผู้ก่อการดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.27 เรื่องความปลอดภัยทางน้ำที่ตอบถูกมากที่สุด คือ “เมื่อจะไปเล่นน้ำควรไปกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง” ร้อยละ 98.77 การเอาชีวิตรอดในน้ำที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุด คือ “สามารถว่ายน้ำท่าใดก็ได้เป็นระยะทาง 25 เมตร” ร้อยละ 23.77 นักเรียนร้อยละ 53.0 ไม่ทราบว่าถัง กะละมังอาบน้ำเด็ก กระติกน้ำ สามารถทำให้เด็กจมน้ำได้ และพบว่าเด็กเกินครึ่ง (ร้อยละ 55.11) เมื่อพบคนจมน้ำจะกระโดดลงไปช่วยทันทีเพราะว่ายน้ำเป็น

2. กลไกการดำเนินงานทีมผู้ก่อการดีป้องกันการจมน้ำ เริ่มต้นจากมีสถานการณ์เด็กจมน้ำเสียชีวิต ในพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่นและสาธารณสุขจึงมีการคืนข้อมูลทำให้ชุมชนเห็นถึงปัญหา และร่วมกันหามาตรการป้องกัน โดยมีการบูรณาการงานจากหลายภาคส่วน กิจกรรมประกอบด้วยการสำรวจและจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง ติดตั้งป้าย/อุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำ ให้ความรู้ในชุมชน/สถานบริการสาธารณสุข/โรงเรียน สอนหลักสูตรว่ายน้ำ
เพื่อเอาชีวิตรอด สอนฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทีมผู้ก่อการดีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการสอนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดให้สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถ
ลดการเสียชีวิตเด็กจมน้ำได้

ปัจจัยความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาการป้องกันเด็กจมน้ำให้มีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นต้องมีการคืนข้อมูลให้พื้นที่เพื่อให้ทราบสถานการณ์ รวมทั้งมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จิตอาสา และประชาชนในพื้นที่ที่เข้มแข็ง และต้องให้โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงจะสามารถขับเคลื่อน และขยายผลต่อไปได้อย่างยั่งยืน

References

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ และอภิชาติ เมฆมาสิน. (2547). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก พ.ศ.2543-2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กองนโยบายยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2559). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำ พ.ศ.2549-2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
กองนโยบายยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2560). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำ พ.ศ. 2549-2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). การจมน้ำเสียชีวิตปีพ.ศ.2560 (ข้อมูลเบื้องต้น ณ 1 กุมภาพันธ์ 2561). กรุงเทพมหานคร: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
เกศรา แสนศิริทวีสุข และวิภาภรณ์ เหมไพศาล พิพัฒน์. (2548). สาเหตุนำของการจมน้ำในเด็กที่เสียชีวิต จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2543-2546. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 4 (มกราคม-กุมภาพันธ์), 57-65
บุศรา ชัยทัศน์. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนี ถิตย์ประเสริฐ (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก http://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=821
ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ. (2550). ทบทวนวรรณกรรมการจมน้ำของเด็ก. ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2559). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556: การสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-Adjusted Life Year: DALY). ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์จํากัด.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2560). การเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ (Injury Surveillance System: IS) ปีพ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2552). สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย. ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางประเมินผู้ก่อการดี (Merit Maker)การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ (ฉบับปรับปรุงปี 2560). พิมพ์ครั้งที่ 5 บริษัทรำไทยเพลสจำกัด.
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2562). แนวทางการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำปี 2562. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13375&tid=37&gid=1-027
สุชาดา เกิดมงคลการ, ส้ม เอกเฉลิมเกียรติและคณะ. (2557). ประเมินผลการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ “วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ”. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สุชาดา เกิดมงคลการ ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ และกิ่งกาญจน์ จงสุขไกล และคณะ. (2558). การสำรวจการใช้เสื้อชูชีพในประเทศไทย. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สุชาดา เกิดมงคลการ ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ และกาญจนีย์ ดำนาคแก้ว. การวิเคราะห์เชิงพรรณนาข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากการตกน้ำ จมน้ำ ทั้ง 5 มิติของการดำเนินงาน. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. (2549). การทบทวนเรื่องสถานการณ์การจมน้ำในประเทศไทยและมาตรการแก้ไข. ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562 จาก www.csip.org.
World Health Organization. The Global Report on Drowning. Retrieved 3 March, 2019 from: http://www.lifesaving.bc.ca/sites/default/files/WHO_Report_on_Drowning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-26