ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเรื่องการป้องกันโรคพยาธิของพลทหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จิตตาวดี วิจารณ์ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านขาม
  • นฤมล คำสมบัติ โรงพยาบาลโพธิ์ชัย
  • เกศิณี หาญจังสิทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • อุรารัช บูรณะคงคาตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมสุขศึกษา, โรคพยาธิ, พลทหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ใช้แบบ Multiple-Group Time Series Design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาการป้องกันโรคพยาธิ ที่มีผลต่อความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพลทหารผลัดที่ 2/2560 จำนวน 195 นาย โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม พิจารณาจาก 6 หน่วยฝึก ได้กลุ่มทดลองจำนวน 62 นาย และกลุ่มควบคุมจำนวน 133 นาย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา โดยนำการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ มาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมสุขศึกษา ระยะเวลาศึกษา 3 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถามได้ค่า IOC .63 และค่าความเชื่อมั่น .68 ใช้สถิติ Friedman’s Test และ Mann-Whitney Test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการได้รับโปรแกรมทันทีและหลัง 3 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้ประโยชน์สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และยังพบว่ากลุ่มทดลองมีแนวโน้มคะแนนความรู้และการรับรู้ประโยชน์เพิ่มขึ้นตามเวลาที่ติดตามมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้ความเสี่ยงไม่มีความแตกต่างกัน

ควรนำโปรแกรมไปปรับใช้สู่การลดอุบัติการณ์โรคพยาธิได้ในอนาคต และการศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มระยะเวลาในการติดตาม เพื่อทดสอบความคงอยู่ของโปรแกรม

References

1.กฤชมล สมรักษ์, นารี ฝอยทอง, เกศิณี หาญจังสิทธิ์, และอุรารัช บูรณะคงคาตรี. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโรคพยาธิใบไม้ตับของพลทหาร จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัยครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2563 (หน้า 1119-1130), พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราฎพิบูลสงคราม.
2.เกษร แถวโนนงิ้ว, รุจิรา ดวงสงค์, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์,และวราลักษณ์ ตังคณะกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่เสี่ยง. วารสารวิชาการสาธารณสุข,24(6), 1128-1137. สืบค้น 16กุมภาพันธ์ 2560, จากfile:///C:/Users/U%20S%20E%20R/Downloads/29348-38192-1-PB-5.pdf
3.คิมธวัช นันตะวัน, และณัฐพล จำปาสาร. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฏีการเรียนรู้ของแบนดูลาในการปรับเปลี่ยนการรับรู้ ความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคหนอนพยาธิของเด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.การศึกษาตามหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร.
4.ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์, และสรญาแก้วพิทูลย์. (2553). หนอนพยาธิในลำไส้ในประชาชนบ้านทุ่งบอน อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 29-38.
5.เทพลักษณ์ ศิริวัฒนวุฒิชัย, ปราโมทย์ ทองกระจาย,ชโลบล วงศ์สวัสดิ์, และคณะ. (2559). สถานการณ์และปัจจัยการติดเชื้อพยาธิใบตับ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(1), 61-68.
6.นันทนา บัณฑิตาโสภณ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาการป้องกันโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินในชุมชนชาวไทยภูเขา : กรณีศึกษาหมู่บ้านพลั่งเท อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร). สืบค้นจาก ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เต็มฉบับและเอกสารเต็มฉบับของเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย (ThaiLIS).
7.พลอยไพลิน ทับทิม, และรุจิรา ดวงสงค์. (2556). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 25-34.
8.รัชนีวรรณ แก้วโพนเพ็ก. (2552). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังโคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กนักเรียนประถมศึกษา ตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
9.วิชุดา จิรพรเจริญ, (2557). การสอนแบบเป็นกลุ่มย่อย (Small Group Teaching). สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2560, จากwww.med.cmu.ac.th/.../Teaching%20and%20Leading%20Small%20Group.
10. ศิวัชญ์ ทองนาเมือง. (2554). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กนักเรียนประถมศึกษา อําเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 80-91.
11.สำนักงานระบาดวิทยา. (2551). โรคพยาธิใบไม้ตับ (Liver Fluke). สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2560, จากhttp://www.boe.moph.go.th/Annual/Annual%202551/Part1_51/4451_LiverFluke.
12.สำนักงานโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย พ.ศ. 2552. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2560, จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/4e291ca0dfdc4%20(1).pdf
13.Bandura A. (1977). Self-efficacy.The exercise of control. New York: W.H. Freeman & Co.
14.Becker, M.H. (1974). The Health Belife Model and Sick Role Behavior. Health Education Monographs.
15.Mascie-Taylor C.G.N., Karim R., Karim E., Akhtar S., Ahmed T., and Montanari R.M..2003, “The cost-effectiveness of health education in improving knowledge and awarenees about intestine parasites in rural Bangladesh”, Economics and Human Biology, Vol. 1, pp. 321-330.
16.WHO. WHO report 2000 conquering suffering enriching humanity. Geneva: World Health Organization 2000.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28