ความเครียดและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ประทีป กาลเขว้า ภาควิชาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุนิตรา เดชขันธ์ นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  • เบญญาภา กาลเขว้า ภาควิชาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเครียด, คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 199 คน ที่คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง (SPST-20) และเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเที่ยงด้วยโดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.69 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และใช้สถิติ Chi-Square และ Fisher’s Exact

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของผู้ดูแลเฉลี่ยต่อเดือน และระดับความเครียด

ดังนั้น หน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานด้านสุขภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีงานทำและเสริมสร้างทักษะทางสุขภาพเพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้

References

เจริญชัย หมื่นห่อ และ สุพรรณี พูลผล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม.
ประไพ ศรีแก้ว และดุษฎี เอกพจน์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการ ทํางานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการแพทย์ เขต 11; (2557) 8:101-11.
ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรชัย จูลเมตต์ และยุพิน ถนัดวณิชย์. (2544).ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ ม.บูรพา.
มณัฐกร คงทอง. (2553). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนริมทางรถไฟภายในเขตเทศบาลนคร หาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รศรินทร เกรย์ และสาลินี เทพสุวรรณ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูผู้สูงอายุ. สงขลานครินทร.ฉบับสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร.
วีระพงษ์ พรายภิรมณ์. (2557). คุณภาพชีวิตประชาชน ในตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัด สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ปี 61ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ.ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม 2561 จาก http://www.thaihealth.or.th
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ, วิทยพัฒน์.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives Handbook I : Cognitive Domain. New York: David McKay.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-27