การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเขตพื้นที่สถานีอนามัยห้วยจระเข้ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, เกษตรกร, ลดพฤติกรรมเสี่ยง, การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดวัชพืชโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในเขตพื้นที่สถานีอนามัยห้วยจระเข้ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 60 คน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกร ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากระยะที่ 1 และยกร่างรูปแบบโดยใช้แนวคิดหรือทฤษฎีการมีส่วนร่วม แบบ AIC ระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม แนวทางการจัดกิจกรรม AIC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 95.0 อายุ 41-50 ปีร้อยละ 35.0 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 85.0 ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชร้อยละ 90.0 ในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกรโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค AIC ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและกำหนดอนาคต 2) การคิดและจัดลำดับกิจกรรม 3) การจัดทำแผนและปฏิบัติตามแผน โดยมีการจัดกิจกรรม 5 กิจกรรม หลังดำเนินกิจกรรมพบว่าเกษตรกรสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงโดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 คะแนนเฉลี่ยของเกษตรกรที่มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกรกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
การมีส่วนร่วมของเกษตรกรจะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชส่งผลดีต่อสุขภาพที่ดี และนำรูปแบบนี้ไปใช้กับเกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
References
กรมส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ. (2550). จำนวนและอัตราตายด้วยโรคมะเร็ง. กรุงเทพฯ.
จุฬาภรณ์ โสตะ. (ม.ป.ป.). กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
เจริญชัย หมื่นห่อ และ บุญรอด ดอนประเพ็ง. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการลดการสัมผัสสารเคมีปราบศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกร. กรณีศึกษากลุ่มผู้ปลูกยาสูบบ้านนายอ ต.นางาม อ.เรณูนคร จ.นครพนม.
นพพร บัวทอง. (2556). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
นุศราพร เกษสมบูรณ์ และคณะ. (2547). ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมี. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2558). การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์.
รัตนา ทรัพย์บำเรอ และคณะ. (2560). ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กรณีศึกษาในเกษตรกรปลูกกระเทียม จังหวัดพะเยา.
ศักดิ์ดา ศรีนิเวศน์. (2546). พิษภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. เอกสารประกอบการประชุมเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. หน้า 3-5. กรุงเทพมหานคร.
สถานีอนามัยห้วยจระเข้. (2562). ระบบศูนย์กลางข้อมูลสุขภาพ(HCIS). นครราชสีมา.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. (2560). ครัวเรือนเกษตรกร. นครราชสีมา
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลการสำรวจภาวการณ์มีงานทำของประชากร. กรุงเทพฯ.
สำนักระบาดวิทยา. (2560). พิษสารกำจัดแมลงศัตรูพืช. นนทบุรี.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ผลการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร (2560). นนทบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน