ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
คำสำคัญ:
การป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า
พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 25 ระดับปานกลาง-ต่ำ ร้อยละ 75 โดยพบปัจจัยความเชื่อส่วนบุคคลในแต่ละด้านอยู่ในระดับสูง ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับร้อยละ 70.56, 55.56, 67.78, 41.67 และ 79.44 ตามลำดับ และปัจจัยความเชื่อส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมาก (r=0.22, p=0.003) กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติไม่มีความสัมพันธ์
ดังนั้น การจัดให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พฤติกรรมของตนเอง ในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักต่อความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้ดียิ่งขึ้น
References
กษมา เชียงทอง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการจัดการโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กานต์ธิชา กำแพงแก้ว วิไลพรรณ และวีนัส ลีฬหกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารสุข, 25(2), 40-56.
ชลิดา โสภิตภักดีพงษ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
ทิพวรรณ์ ประสานสอน และพรเทพ แพรขาว. (2556). สถานการณ์ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2), 36-43.
พรสวรรค์ คำทิพย์. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในภาคใต้. วิทยานิพนธ์การพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. (2560). ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ เขตสุขภาพที่ 4 จังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2560. วันที่ค้นข้อมูล 12 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2017&source=pformated/format1.php&id=df9a12ff1c86ab1b29b3e47118bcd535
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. (2560). ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี เขตบริการสุขภาพที่ 4 จังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2559. วันที่ค้นข้อมูล 12 พฤษภาคม 2561, เข้าถึงได้จากhttp://203.157.115.44/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=8&flag_kpi_year =2016&source=pformated/format1.php&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9
สุทัสสา ทิจะยัง. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์การพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน