พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชน บ้านแสนสำราญ ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ลออรัตน์ จิตต์พงษ์ โรงพยาบาลนามน
  • เบญญาภา กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนเเก่น
  • ประทีป กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนเเก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การบริโภค, ผักปลอดภัยจากสารพิษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชนบ้านแสนสำราญ ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการเตรียมอาหารภายในครัวเรือนจำนวน 98 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยวิเคราะห์ค่าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ในช่วง 0.67-1.00 วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบทดสอบโดยวิธีคูเดอร์ ริชาร์ดสันโดยใช้สูตรKR -20 ได้เท่ากับ 0.50 ค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.3 - 0.5 และ ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.2 - 0.7 และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทัศนคติ ปัจจัยเสริม และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ เท่ากับ 0.77, 0.85 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า

พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.39 รองลงมามีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 30.61

ควรมีการให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องผักปลอดสารพิษ มาตรฐานรับรองความปลอดภัยและการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษแก่ประชาชน

References

กรมอนามัย. (2554). ผักสด ผลไม้ ปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงสาธารณสุข. (2555). สธ. แนะกินผักและผลไม้สดวันละไม่น้อยกว่าครึ่งกิโลกรัม จะลดการป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 30 โรคเส้นเลือดสมองตีบร้อยละ 19. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559, จาก cro.moph.go.th
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. (2559). เปิดผลตรวจ 10 ผักยอดนิยมของคนไทย. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2559, จากhttp://thaipublica.org/2015/03/veget-chemical
ภัสสรกันต์ ทรัพย์มหาโชค และกีรติ กมลประเทืองกร. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคตามหลักเบญจศีลและเบญจธรรม. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(1), 11-19
เมตตา คำพิบูลย์. (2557). อาหารปลอดภัยเป็นจริงได้ ผู้บริโภคต้องแสดงพลังช่วยผู้ผลิต. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content-fb/26272
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). กินผักผลไม้วันละ 400 กรัม ต้านโรค. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/31659-.html
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2559). สถิติสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2554-2557. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2559, จาก http://203.157.186.15/files_news/1_2559% 20edited%2025590126.pdf
สำนักทะเบียนอำเภอกุฉินารายณ์. (2559). แบบรายงานบัญชีคนในบ้าน. ที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30