ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 45-54 ปี ในเขตชุมชนบ้านห้วยจระเข้ ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สรารัตน์ ตระกูลรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, การรับรู้ความสามารถตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 45-54 ปี ในเขตชุมชนบ้านห้วยจรเข้ ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กิจกรรมประกอบด้วย  การบรรยาย การฉายวีดีทัศน์ ฝึกปฏิบัติกับหุ่นเต้านมจำลอง เอกสารแผ่นพับ และการเยี่ยมบ้าน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test  และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการทดลอง สตรีกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p< 0.001)

จากผลการวิจัยแสดงว่า โปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม  ทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการเข้ารับบริการตรวจมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น  ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอัตราการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในพื้นที่

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2557). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานข้อมูลมะเร็งเต้านม. นครราชสีมา.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2545). คู่มือบุคลากรสาธารณสุขในการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี และป้องกันโรคมะเร็งเต้านม. กระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. (2559). รายงานอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม. นครราชสีมา.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยจรเข้. (2559). รายงานประจำปี. นครราชสีมา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยจรเข้.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). การตรวจเต้านมด้วยตนเอง. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2548). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สุขสรรค์ นิพนธ์ไชย. (2556). ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในตำบลกระชอน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน).นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Bandura, A. (1982). The Assessment and Predictive Generality of Self-Percepts of Efficacy. Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry, 13(1), 195-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30