การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยของประชาชนในเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • อัครเดช เลาหุไรกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวัว

คำสำคัญ:

อาการปวดเมื่อย, ยาแก้ปวดเมื่อย, พฤติกรรมการใช้ยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับยาแก้ปวดเมื่อยกับพฤติกรรมการใช้ยาของของประชาชนในเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีจำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับยาแก้ปวดเมื่อยและพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อย ได้ค่า KR20 เท่ากับ .75 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบทางสถิติด้วย t-test Oneway ANOVA และหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่า Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า

ประชาชนในเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยอยู่ในระดับดีมาก และพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยอยู่ในระดับค่อนข้างดี (M = 2.79, SD = 2.61) โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และรายได้แตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   และความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยของประชาชนในเขตอำเภอท่าใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ดังนั้น เภสัชกรควรเพิ่มคำแนะนำในการใช้ยาแก่ประชาชนให้ละเอียดมากกว่าเดิม โดยเฉพาะประเด็นวิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง และเน้นให้ประชาชนตระหนักและสนใจอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ข้อห้ามใช้  ตลอดจนเน้นย้ำถึงผลเสียของการปฏิบัติการรับประทานยาที่ไม่ถูกต้อง

References

บุปผา ศิริรัศมี. (2560). พฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนในจังหวัดนครปฐม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมใจ ยิ่งศักดิ์มงคล และสัญชัย ใบไพศาล. (2560). การรักษาโรคติดเชื้อด้วยตนเองของประชาชนในชุมชนแออัด. รายงานการศึกษาวิจัยปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Wiersma, W., & Jurs, S. G. (2009). Research Methods in Education. Massachusetts: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30