รูปแบบ การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กาญจนา โทหา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบ, การจัดการขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะมูลฝอย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สวนพยอม เจ้าหน้าที่ 50 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสำรวจประเภท ปริมาณขยะแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ใช้ ไควสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง ร้อยละ 88.0, 8.0 ทัศนคติอยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง ร้อยละ 94.0, 6.0 พฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับสูง ร้อยละ 76.0, 24.0 พบว่า อายุ เพศสถานะภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง รายได้ ความรู้ ทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการกำจัดขยะมูลฝอยการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหาพบว่า ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ยังไม่เป็นระบบ 2) การเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการขยะโดยอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร3) รณรงค์สร้างจิตสำนึกตามแนวคิด 3Rs–ประชารัฐ โดยลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรเลี้ยงไส้เดือน ทำน้ำหมักชีวภาพ ส่งผลทำให้ปริมาณขยะหลังการดำเนินการลดลง ร้อยละ 22.01

References

จรรยา ปานพรม (2554). การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน : เทศบาลตำบลคลองจิก

อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร).

บุษลักษณ์ ทัพขวา และมาลิณี นาไชย (2555). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ยศภัทร ยศสูงเนิน, วรรณภา รัตนวงค์ และนงนุช จันทร์ดาอ่อน. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการจัดการ

ขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลตําบลโคกกรวด นครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ, วิทยาลัยนครราชสีมา).

วิรวัลย์ แก้วบุญชู (2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนกรณีศึกษา

เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล).

สมพงษ์ แก้วประยูร (2558). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของ

ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,คณะรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

อิสรภาพ มาเรือน (2556). รูปแบบการจัดการขยะที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของชุมชนชาวเขา

อย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2, 136-144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-28