การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำเสีย

ผู้แต่ง

  • นันทิรา วรกาญจนบุญ สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ไมโครพลาสติก, น้ำเสีย, สารตกตะกอน, เฟอริกคลอไรด์

บทคัดย่อ

     

             งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำเสีย ด้วยสารตกตะกอนเฟอริกคลอไรด์ (Ferric Chloride) ในกระบวนการสร้างและรวมตะกอนโดยใช้เครื่อง Jar test ด้วยความเร็วรอบกวนเร็ว 100 รอบ/นาที เป็นเวลา 10 นาที กวนช้า 30 รอบ/นาที เป็นเวลา 20 นาที และทิ้งไว้ 60 นาที ให้ตกตะกอน แล้ววิเคราะห์ประสิทธิภาพการลดลงของไมโครพลาสติกจากปริมาณสารแขวนลอย (SS) และปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (TDS) พบว่า

             เมื่อเติมสารตกตะกอนเฟอริกคลอไรด์ 5, 10, 15 และ 20 มิลลิลิตร ลงในน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีไมโครพลาสติกตั้งต้น 2 กรัม/ลิตร พบว่า ประสิทธิภาพการลดปริมาณสารแขวนลอย (SS) เท่ากับ 57.1%, 71.4%, 85.7% และ 91.4% ตามลำดับ และประสิทธิภาพการลดปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (TDS) เท่ากับ 26.0%, 61.7%, 78.5% และ85.7% ตามลำดับ

References

นภาพร เลียดประถม. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์การทำสำรวจและจำแนกตัวอย่างขยะ ทะเล ประเภทไมโครพลาสติก. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลนและคณะเทคโนโลยีทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา, หน้า 4-5.

อมรรัตน์ วงษ์กลม และ ถนัด ธนะฉัตรชัยรัตนะ. (2561). การกำจัดความขุ่นและสารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน กรณีศึกษาระบบการผลิตน้ำประปาตำบลทรายมูล อำเภอพบิูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(2), 1188 – 1198.

Kang, J., Zhou, L., Duan, X., Sun, H., Ao, Z., & Wang, S. (2019). Degradation of Cosmetic Microplastics via Functionalized Carbon Nanosprings. Matter, 2019; DOI: 10.1016/j.matt.2019.06.004

Perren, W., Wojtasik, A., & Cai, Q. (2018). Removal of Microbeads from Wastewater Using Electrocoagulation.ACS Omega, Page 3357-3364

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-28