การวิเคราะห์เชิงพรรณนาข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า 5 มิติ เขตสุขภาพที่ 12 สงขลา พ.ศ. 2561
คำสำคัญ:
โรคพิษสุนัขบ้าสำโรคปัจจัยต้นเหตุ . พฤติกรรมเสื่ยง การป่วย การตาย เหตุการณ์ผิดปกติ และการตอบสนองแผนงานควบคุมโรคปัจจัยต้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าและเพื่อหาแนวทางมาตรการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าที่เหมาะสมของพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 สงขลา วิธีการศึกษา นำข้อมูลเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2561-2562 มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยดูการกระจายการเกิดโรคตามบุคคล เวลา และสถานที่ จำแนกตาม 5 มิติประกอบด้วย ปัจจัยต้นเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง การป่วย การตาย เหตุการณ์ผิดปกติ และการตอบสนองแผนงานควบคุมโรค ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
พ.ศ.2561 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 4 ราย พบสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 174 ตัว มีผู้สัมผัสทั้งหมด 662 คน รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 602 คน ยังมีผู้สัมผัสโรคที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 60 คนประชาชนยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า เช่น คิดว่าโรคพิษสุนัขบ้ายังรักษาหาย การล้างแผลด้วยน้ำสะอาดฟอกสบู่หลายๆครั้งและทายาเบตาดีน ไม่ช่วยลดปริมาณเชื้อที่แผล ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงขาดความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า ส่งผลให้ไม่เข้ารับการรักษาภายหลังสัมผัสโรค
จากการดำเนินงานด้านการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับปัญหาของสุนัขจรจัดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้มีโอกาสพบผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งปัญหานี้กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมโรคได้ดำเนินการแก้ไขทำความเข้าใจและปรับปรุงแผนการดำเนินงานส่งผลให้จำนวนการพบโรคพิษสุนัขบ้าในคนลดลง
References
2. สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (Thai Rabies Net) เว็บไซต์ www.thairabies.net
3. สำนักระบาดวิทยา. รายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2561
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน