ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ของประชาชน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เพชรผกา มูณี
  • บัว ฤดูบัว
  • สุริยพงศ์ กุลกีรติยุต
  • ศรัณยู คำกลาง
  • ปุณณ์ภวิศา ป้องพิมาย
  • จิตติมา จันทร์อุไร
  • สิทธิชัย สิงห์สุ -
  • วริยา เคนทวาย

คำสำคัญ:

มลพิษทางอากาศ, ฝุ่น PM 2.5, ผลกระทบต่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 ของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงปริมาณที่ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ และความรู้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการส่งเสริมการป้องกันฝุ่น P.M 2.5 ของประชาชน และควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับฝุ่นให้กับคนชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการสัมผัส PM 2.5 ซึ่งอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ของประชาชนต่อไป

References

โซเฟีย มะแซและคณะ. (2565). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นของคนงานในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก, 5(2), 18-32.

นนทลี สันตินิยมและคณะ. (2567). การรับรู้พฤติกรรมการป้องกันสุขภาพและระดับกิจกรรมทางกายของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสุโขทัยในช่วงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(2), 692-703.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). ผลกระทบของวิกฤตฝุ่น “PM2.5” และแนวทางการมีกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัย. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2567 เข้าถึงได้จาก https://tpak.or.th/th/article/669

สันติ ภัยหลบลี้. (2566). มลพิษทางอากาศ. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567 เข้าถึงได้จาก https://www.Mitrearth.org /23-4-air-pollution/

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2566). กรมอนามัยแนะนำ 7 วิธีป้องกันตัวเองจากฝุ่น PM 2.5. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2567 เข้าถึงได้จาก https://www.gcc.go.th/?p=99671

มัตติกา ยงอยู่. (2563). ความรอบรู้ในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่ 5. ศูนย์อนามัยที่ 5, 1-15.

อรสา ทองทศ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศของประชากรในกรุงเทพมหานคร. เชียงใหม่ : สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2567 เข้าถึงได้จาก : https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214155551.pdf

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Bloom B. (1971). Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston New York: David McKay.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-09