การประเมินการดำเนินงานการพัฒนาต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชน สู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อุทัย นิปัจการสุนทร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี
  • กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์

คำสำคัญ:

การประเมิน, ผู้สูงอายุ, ระบบสุขภาพชุมชน, ระบบบริการสุขภาพ, ไร้รอยต่อ, บูรณาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยประเมินผล โดยใช้กรอบแนวคิด Consolidated Framework for Implementation Research (CFIR) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานการพัฒนาต่อยอดเพื่อขยายผลรูปแบบระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุเชิงบูรณาการ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสานวิธี การศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,773 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ 1) สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง 2) สนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและตำบล (ระบบสุขภาพชุมชน) และระดับชุมชน รวม 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 82.40 โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มทั่วไป ร้อยละ 75.17 กลุ่มมีประวัติโรคหัวใจ (จำนวน 126 คน) ร้อยละ 75.40 ปัจจัยเสี่ยงและสัญญาณเตือนที่เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม/กระดูกสะโพกหัก ร้อยละ 79.86 กลุ่มขับเคลื่อนเชิงนโยบายและการพัฒนาระบบสุขภาพ ทั้ง Health-Non Health Sector รับรู้/เข้าใจนโยบายและเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวคิดระบบสุขภาพ หลักการบูรณาการ การบริการอย่างไร้รอยต่อ ในบริบทสังคมผู้สูงอายุ และการเจ็บป่วยด้วย 3 กลุ่มโรค  กลุ่มขับเคลื่อนการดำเนินโครงการระดับจังหวัด ระบบสุขภาพชุมชน และระดับชุมชน ทุกอำเภอมีการนำ CANDLE Model มาประยุกต์ใช้ตามบริบทและทุนเดิมเสริมด้วยทุนทางสังคม จัดระบบดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ด้วยการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและดูแลหลังจำหน่ายและระบบส่งต่อผู้ป่วย  ขับเคลื่อนงานผ่านกลไก พชอ. ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ สถานชีวาภิบาล         พระคิลานุปัฏฐาก กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดี ควรขยายผลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

References

ณัชชภัทร พานิช, มาฑะ ขิตตะสังคะ, ประจวบ แหลมหลัก, จินต์ กล้าวิกรณ์. (2558).ยุทธศาสตร์การจัดการระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 8,8:169-89.

รมย์ธนิกา ฝ่ายหมื่นไวย์, นิภา กิมสูงเนิน และเขมศ์ณริณี รื่นฤดีภิรมณ์. (2564). “รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ : คำตอบอยู่ที่ระบบสุขภาพชุมชน,” วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 44,3 (กรกฎาคม - กันยายน 2564) : 11-22.

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ และคณะ. (2561). “กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้,” 11(1):231-8.

วิจารณ์ พานิช. (2554). การจัดการความรู้ กับการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. ใน: สุพัตรา ศรีวณิชชยากร, สุมาลี ประทุมนันท์, บรรณาธิการ. มองมุมใหม่จัดการใหม่ในระบบสุขภาพชุมชน: เอกสารประกอบการประชุมมหกรรมสุขภาพชุมชนครั้งที่ 2 จากความรู้สู่ระบบจัดการใหม่ จินตนาการเป็นจริงได้ไม่รู้จบ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิ และคณะ. (2565). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน(Stroke) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) แบบบูรณาการ ในเขตสุขภาพที่ 10. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางปฏิบัติเรื่อง การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงและค่าบริการสาธารณสุขจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ศิรินาถ ตงศิริ และคณะ. (2561). “ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 12(1):7-26.

อัญชราภรณ์ เลาหรุ่งพิสิฐ. (2563). นโยบายการบริหารพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 7(2):25-40.

Best, John.(1977).Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc..

Damschroder LJ, Aron DC, KeithRE, KirshSR, Alexander JA,Lowery JC. (2009). Fostering implementation of health services research findings into practice: a consolidated framework for advancing implementation science. Implementation Science 2009;4(1):50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-08