ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • นพดล ทองอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://orcid.org/0009-0003-1055-4533

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งจังหวัดสมุทรสงครามมีแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพและความสามารถในการดูแลตนเองลดลง ดังนั้น พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 270 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multi-stage Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ค่าความเชื่อมั่นของแอลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha) เท่ากับ 0.87  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การประกอบอาชีพ รายได้ แหล่งที่มาของรายได้ และโรคประจำตัว รวมทั้งความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคล ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ ปรับทัศนคติและการรับรู้ที่ถูกต้อง โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

กนกพร สมพร, ทัศพร ชูศักดิ์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ, ธนูศิลป์ สลีอ่อน และนพดล ทองอร่าม. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 3(3), 93 – 106.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). จำนวนประชากรแยกรายอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/ statTDD/views/show ProvinceData.php?rcode=75&statType=1&year=65

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทราปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 68-83.

เกษม เวชสุทธานนท์. (2566). การพัฒนารูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำหรับกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนราธิวาส. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 46(2), 111- 128.

จิรฐา อัคนิทัต, ดารุณี เหลืองวรกิจ และวิภารัตน์ ชมดง. (2563). สุขภาวะของผู้สูงอายุในประเทศไทย: โอกาสสำคัญทางการตลาด. วารสารเซนต์จอห์น, 23(32), 87-107.

เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา และนภัส แก้ววิเชียร. (2558). การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1017 – 1029.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, และวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 14(27), 21-36.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=39772

วงเดือน คลื่นแก้ว, สมศักดิ์ สีดากลุฤทธิ์ และบุญช่วย ศิริเกษ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 107-117.

วัชริน สินธวานนท์. (2552). พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุคำตอบอยู่ที่ชุมชน. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วินัย กลิ่นหอม. (2558). การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2567 เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1687612748-2406_0.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2564). ข้อมูลสถานะสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2564. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี และภูริทัต แสงทองพานิชกุล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 85-96.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องการสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย (Creating and Developing of Thailand Health Literacy Scales). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.

United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (2017). World Population Ageing 2017 - Highlights (ST/ESA/SER.A/397). Retrieved from https:// www.un.org/development/desa/pd/sites/www.un.org.development. desa.pd/files/files/documents/2020/May/un_2017_worldpopulationageing_highlights_0.pdf

World Health Organization. (2021). Ageing and health [Internet]. Cited 2023 Jan 25 Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21