ผลของการใช้ฟังก์ชั่นยาใจต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานยาและค่าความดันโลหิต ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา วงษ์ใหญ่
  • ปิ่นนเรศ กาศอุดม -
  • นิชาภา จันทรเกตุ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการกินยา, ค่าความดันโลหิต, ภาวะความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

จากสถิติความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังพบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหยุดรับประทานยาโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่งถึงร้อยละ 45 รวมถึงปัญหาในด้านพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยด้านอื่นๆ อีกด้วย จึงเป็นที่มาของการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง ครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้ฟังก์ชั่นยาใจต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานยา และค่าความดันโลหิต ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรมฟังก์ชันยาใจสำหรับกลุ่มทดลอง และการดูแลตามมาตรฐานโรงพยาบาลสำหรับกลุ่มควบคุม แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยา มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .99 และ .80 ตามลำดับ และแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานยา ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ในกลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานยาดีกว่ากลุ่มควบคุม ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic) และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นจึงควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเชื่อด้านสุขภาพอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมในการดูแลตนเองด้านการรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตลอดจนป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

References

จารุณี ปลายยอด, ชีวรัตน์ ต่ายเกิด. (2565). ผลของโปรแกรมการให้คําแนะนําแบบสั้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตโรงพยาบาลอินทร์บุรี. บทความวิจัย, 30(3), 3-4.

จุธาดา สุวรรณธารา และอารีนา น้อยนงเยาว์. (2561). แอปพลิเคชันแจ้งเตือนการบริหารยา. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเท]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

นันทิกานต์ หวังจิต. (2558). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุมุสลิมที่ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิตยา โชติสวัสดิ์. (2561). การเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนแห่งหนึ่ง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(3), 335-347

พุทธชาติ ฉันทภัทรางกูร. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอก โรค เบาหวาน ชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. เภสัชกรรมคลินิก, 29(1), 13-24.

รัชนี วัฒนาเมธี และปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์. (2560). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชลประทาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 189-202.

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). แนวทางการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing). เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 33 ง ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564.

วีระโชติ ลาภผลอำไพ และพีรยศ ภมรศิลปะธรรม. (2562). การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือระบบแอนดรอยด์ในการจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีด้วยตนเอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(4), 738 – 750. doi: 10.14456/tstj.2019.59

ศิริพร พรหมรันต์, พนิดา ค้าผล และ ณัฎฐิญา ค้าผล. (2565). ผลของโปรแกรมสร้างความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้เภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. Thai Bulletin of Pharmaceutical Science, 17(1), 31-41. doi.org/10.14456/tbps.2022.3.

สำรวย อาญาเมือง. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองด้านการรับประรับประทานยาต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประรับประทานยาและค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูงหลังเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเร่งด่วน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ใหมนูน๊ะ สังขาว และ เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2563). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสม่ำาเสมอ ในการรับประรับประทานยาและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(1), 84-100.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). SeIf Management methods. In F. H. Kanfer& A. P. Goldstein(Eds), SeIf-management methods in helping people changes: A textbook of methods (4th ed.). (pp 305-360).

World Health Organization. [WHO]. (2023). Hypertension. Retrieved June 22, 2023 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31