ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติและระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
Procurement Supplies Administration, good governance, Performance Efficiencyบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการงานพัสดุ การบริหารจัดการพัสดุตามหลัก ธรรมาภิบาล และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพัสดุ ภายใต้พระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficients) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการจัดการงานพัสดุ ,การบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่พัสดุโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.02,SD=0.459 ; M=4.37, SD=0.504 และ M=4.37, SD=0.513 ตามลำดับ) 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และประสบการณ์การปฏิบัติงาน ด้านพัสดุ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพงานจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ (p=0.124, 0.619, 0.097, 0.330, 0.155 ตามลำดับ) และ 3) สภาพการจัดการงานพัสดุ และการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงและระดับสูง กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่พัสดุ (ค่า r=0.718, p<0.01 และ r=0.865, p<0.01 ตามลำดับ) ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงควรจัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการปฏิบัติงานพัสดุตามพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
References
เฉลิมชัย อุทการ. (2562). ปัจจัยของการบริหารงานพัสดุที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของ
นักวิชาการพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.สารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.12(1), มกราคม-มีนาคม 2562.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสงขลา.สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนวรรณ ทองคาสุก. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการบริหารงานพัสดุ
ของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุศยา นำเจริญลาภ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับความผูกพัน
ต่อองค์การของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เบญญาภา ยาโตปมา. (2558). การบริหารพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ ของสำนักปลัดกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ประสงค์ ตระกูลแสงเงิน. (2550). ประสิทธิภาพการทางานของนักบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตร และ
สหกรณ์การเกษตร (ธ.อ.ส.) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ฝ่ายกิจการสาขา 3.)
วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พินิจ เชื้อแพ่ง. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560.หน้า 8-31 และ
หน้า 64-70 เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 210 ง ราชกิจจานุเษกษา 23 สิงหาคม 2560
รัตนา อาสาทำ. (2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย. (2560). กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง. สมาคมนักบริหาร
พัสดุแห่งประเทศไทย, 40(259) กรุงเทพ: โรงพิมพ์หยี่เฮง.
สำเนา นวรัตน์ธำรง. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ออมรอน ออโตโมทีฟ
อิเลคทรอนิคส์ จากัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ
พระนครศรีอยุธยา.
สุภาภรณ์ ชัยวงษา. (2559).ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสานักงานอัยการสูงสุด
กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2563). เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย.
อัญชัน ชมชื่นพฤกษา,(ม.ป.ป.).ปัจจัยัที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลในอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 จาก
http://www.mba-campus.ru.ac.th/is/g1r2/%E0%B9%80%E0%
Best, John.(1977).Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc.1977
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม