รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษาอำเภอเมืองสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ยุทธชัย นพพิบูลย์

คำสำคัญ:

วิจัยเชิงปฏิบัติการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การจัดการขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสังกัดอำเภอเมืองสุรินทร์โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Researchกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือผู้รับผิดชอบงานขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการดำเนินงานในส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีคะแนนความรู้อยู่ในระดับสูงโดยมีคะแนนเพิ่มจากร้อยละ 60.00 เป็นร้อยละ 88.00 การมีส่วนร่วมคะแนนเพิ่มจากร้อยละ 48.00 เป็นร้อยละ 72.00สำหรับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 96.00 นอกจากนี้ภายหลังการพัฒนาพบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อทุกแห่งโดยผ่านเกณฑ์ในระดับดีเยี่ยม 16 แห่ง ผ่านเกณฑ์ในระดับดี 4 แห่งและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5 แห่งโดยสรุป รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การกำหนดนโยบายจากผู้บริหารที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาของทีมสหวิชาชีพ และการมีระบบกำกับ นิเทศ ติดตามของทีมสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.pcd.go.th/public/News/Files/draft%20report.pdf

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานประจำปีสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม. http://www.deqp.go.th/

กรมอนามัย. (2565). สถานการณ์มูลฝอยติดเชื้อของประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567 https://gch.anamai.moph.go.th/

ณัฐวุฒิ วังคะฮาต, สุมัทนา กลางคาร และพวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ. (2558). รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิพื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(6), 569–574.

นครชาติ เผื่อนปฐม. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รติยา วิภักดิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม ในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมานจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานปริมาณขยะมูลฝอยที่ เกิดขึ้นทั่วประเทศใน พ.ศ. 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2566). งานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสุรินทร์. (2565). ผลการติดตามนิเทศงานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปี 2565

อัจฉราวรรณ พงศาวลี.(2562). การบริหารมูลฝอยติดเชื้อที่มีประสิทธิผลของสถานบริการสาธารณสุขหนองบัวลำภู วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 42(1), 82-92.

อัจฉราวรรณ มุสิกะสันติ. (2557). นโยบายรัฐบาลกับการจัดการระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ. เข้าถึงเมื่อ 29 กันยายน 2566 จาก http://contentcenter.prd.go.th/.

Kemmis, S., and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed). Victoria: Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31