ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
โรคโควิด 19, ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิง, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้และปัจจัยชักนำให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 209 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Odds Ratio และสถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.8 ผลการวิเคราะห์ Multiple logistic regression พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค อยู่ในระดับสูง (Adjusted Odd Ratio [Adjusted OR]=2.99, 95% Confidence Interval [CI]=1.16-7.71) และปัจจัยชักนำให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค อยู่ในระดับสูง (Adjusted OR=3.07, 95% CI=1.36-6.92) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์เพิ่มข้อมูลข่าวสารเน้นให้มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การป้องกันโรคโดยให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือหน่วยงานท้องถิ่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน สื่อสารข้อมูลผ่านทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. (2563). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 จากhttp://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/ 25630330113911AM_CPG%20COVID-19_30032020_v1@11.pdf
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. (2563). แนวทางการปฏิบัติด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other02.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. (2564). รายงาน Care Plan ทั้งหมดระดับหน่วยบริการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564 จากhttp://ltc.anamai.moph.go.threportnumelder_host
จันทราวดี พรมโสภณ และสมคิด ปราบภัย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา, 43(4), 356-367
จารุวรรณ แหลมไธสง. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตรธพล คงห้วยรอบ และ ธัญญวรรณ โตตระกูลพิทักษ์. (2549). ปัจจัยผู้ดูแล การพึ่งพาและการทำหน้าที่ของครอบครัวที่มีผลต่อการควบคุมโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชญาน์นันท์ ใจดี, เสริมศรี สันตติ และชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก, 18(3), 389-403
ชรินทร์ทิพย์ ชัยชุมพล, นันทพร ทองเภา และอ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล. (2561). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่พิการทางการเคลื่อนไหวของญาติผู้ดูแลในตำบลกระแซง อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ, 24(2), 52-66
ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, 36(5), 597-604
นภชา สิงห์วีรธรรม,วัชรพลวิวรรศน์เถาว์พันธ์,กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบาราศนราดูร, 14(2), 104-115
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2009). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/115422
เบญจพร สว่างศรี และเสริมสิริ แต่งงาม. (2555).การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอสามชุก
จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(2), 128-137
พิณรวี สิงห์โต. (2550). ปัจจัยทานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวด้านการบริโภคอาหาร
ในชุมชนตาบลนางแก้ว จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม.
พิภพ ดีแพ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม และนพนัฐ จำประเทศ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่วมกับความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 46-59.
วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ชุติมา สร้อยแสง, ปริศนา อัครธนพล และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวพระเกียรติ.
วีรนุช ไตรรัตโนภาส, ดร. พัชราภรณ์ อารีย์ และดร. ปุณยนุช พิมใจใส. (2562). การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยคริสเตียน
วิไลรัตน์ บุญราศี. (2559). แบบแผนความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรง ไฟฟ้าแม่เมาะที่มีภาวะอ้วน ลงพุง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (2564). การยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในการระบาดระลอกเมษายน 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564, จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/160464-01.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุน. (2564). ผู้สูงอายุเสี่ยงที่สุดจากโรคโควิด-19 และไทยมีผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป จำนวน 4.7 ล้านคน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564, จากhttps://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article
อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี และภูริทัต แสงทองพานิชกุล.(2563). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 85-96.
อำภรพรรณ ข้ามสาม. (2558). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลท่าข้าม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Arenas, R. S., Doubova, S. V., Pérez, M. A., & Cuevas, R. P. (2021). Factors associated with COVID-19 preventive health behaviors among the general public in Mexico City and the State of Mexico. Retrieved July 23, 2021. From https://journals.plos.org/plosone/article?id= 10.1371/journal.pone.0254435
Bloom, B. (1971). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals: Handbook : Cognitive domain. 1 st ed. New York; McKay.
Luo, Y., Cheng, Y., & Sui, M. (2021). The Moderating Effects of Perceived Severity on the Generational Gap in Preventive Behaviors during the COVID-19 Pandemic in the U.S. Retrieved July 23, 2021. From https://doi.org/10.3390/ijerph18042011
Park, S. & Oh, S. (2021). Factors associated with preventive behaviors for COVID-19 among adolescents in South Korea. Journal of Pediatric Nursing, Retrieved July 10, 2021. From https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0882596321002104
World Health Organization2. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. Retrieved June 30, 2021 from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม