การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ผู้แต่ง

  • Mrs.Sineenad Nawsuwan -

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษา 1)ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้        2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษากลวิธีที่ดีในการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง จากผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี จำนวน 13 คน เก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สนทนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบโดยการยกร่างรูปแบบที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนนี้เป็นใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสิงหนคร จำนวน 27 คน คำนวณโดยใช้โปรแกรม G* Power เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบ SINHA Model แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบบันทึกระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ระหว่าง .67 – 1.00 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .805 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired sample t-test และ Wilcoxon signed ranks test ผลวิจัยพบว่า

  1. 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ได้แก่ การอดอาหารหวาน อาหารมัน กาแฟ การเดินออกกำลังกาย การใช้เวลาในการเข้าวัดฟังธรรม การทำอาหารรับประทานเองเน้นการรับประทานปลาและผัก การค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานจากโทรทัศน์ และการกินสมุนไพร
  2. 2. รูปแบบการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ คือ SINGHA Model ประกอบด้วย 1) S: Social Media หมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ มี 2) I: Information Support หมายถึงการให้ความรู้และคำแนะนำ 3) N: Nurturing of Local wisdom หมายถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) G: Good Role Model หมายถึง คนต้นแบบ 5) H: Home หมายถึง ความผูกพันในครอบครัว 6) A: Administration หมายถึง การบริหารจัดการ
  3. 3. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า หลังใช้รูปแบบผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ดังนั้นควรนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ และขยายผลสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนัก โรคไม่ติดต่อ .(2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและ ควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี(พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.

ประศักดิ์ สันติภาพ. (2563). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 9-18.

ปิยะพร ทองเนื้อนวล. (2562). ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้. วารสารสาธารณสุขและ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2), 14-25.

เพ็ญศรี ทองเพชรและคณะ. (2562). การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบนวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 2562.

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 191-204.

Ayele, Ketema. (2012). Self care behavior among patients with diabetes in Harari, Eastern Ethiopia: the health belief model perspective. PLoS One, 7(4), 1-6. doi: ?10.1371/journal.pone.0035515

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

McEwen, M., & Wills, E.M. (2014). Theoretical basis for nursing (4th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of Practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31