การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี

-

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ณรัณ ผุดผาด -

คำสำคัญ:

Influencing Factors Health Literacy, Public Health Volunteers of the Village

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสหสัมพันธ์ (Correlation Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 234 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่
และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล  การปฏิบัติงานเป็น อสม. แรงสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .864, .873 และ .924 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                    ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.87,S.D.= .442)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ได้แก่               แรงสนับสนุนทางสังคม (r =.372) และการปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (r = .585) และปัจจัย             ที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี ได้แก่ การปฏิบัติงานเป็น อสม. แรงสนับสนุนทางสังคม ระดับการศึกษา และ เพศ (Beta= .640) สามารถร่วมกันพยากรณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรีได้ ร้อยละ 41.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข พ.ศ.2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). คู่มือ อสม.มืออาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กองสุขศึกษา. (2560) กระบวนงานบริการสุขศึกษาเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพภาครัฐบูรณาการมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข.

กองสุขศึกษา.(2565) สรุปผลการประเมินศักยภาพในการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชกลุ่มเป้าหมายปีงบประมาณ พ.ศ.2565.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กฤศภณ เทพอินทร์ สุทธีพร มูลศาสตร์ และนภาเพ็ญ จันทขัมมา. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 11(1), 197-212.

ณัฐพงษ์ เฮียงกุล, และยุทธนา แยบคาย. (2563).ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานตาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 29 มีนาคม - เมษายน 2563.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความ รอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.

นพมาศ โกศล และคณะ. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ของกลุ่มวัยทำงานสำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหิน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้ง ที่10. (สบส)

ปรางค์ จักรไชย,อภิชัย คุณีพงษ์, และวรเดช ช้างแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, มกราคม - เมษายน ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 ,17-28.

เบญจวรรณ สอนอาจ. (2562). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร,นครปฐม.

ภานุวัฒน์ พิทักษ์ธรรมมากุล. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมนชนต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5 สืบค้นจากhttp://do5.hss.moph.go.th/pdf.

Buckingham, D. (2003). Media education: literacy, learning, and contemporary culture. Cambridge, UK: Polity Press.

Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. (2011). Lowhealth literacy and health outcomes: An updated systematic review. Annals of Internal Medicine, 155(2), 97-107. doi: 10.7326/0003-4819-155-2- 201107190-00005.

Edwards, M., Wood, F., Davies, M., & Edwards, A. (2012). The development of health literacy in patients with a long-term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health, 12(1), doi.:10.1186/1471-2458-12-130

Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

House,J.S. (1981) Work stress and social support.New Jersey : Prentice-Hall

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine, 67(12), 2072-2078.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30