ผลของมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการแพร่กระจาย ของไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จันทภา จวนกระจ่าง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ภิรมย์ น้อยสำแดง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นนท์ธิยา หอมขำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, มาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, สายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019, วัคซีนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาด   ของโควิด 19 การแพร่กระจายของสายพันธุ์ต่างๆ ของไวรัส Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) และปริมาณการได้รับวัคซีนโควิด 19 ต่อจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต           จากโรคโควิด 19 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564    จากฐานข้อมูล Covid-19 Dashboard ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและฐานข้อมูล              Global initiative on sharing all influenza data (GISAID) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19 พบว่า การได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มเพิ่มขึ้นจะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง (adjusted incidence rate ratios [IRRadj] = 0.86; 95% confidence interval                                        [95% CI] =0.75 – 0.99) การใช้มาตรการห้ามชุมนุม และมาตรการ lockdown มีผลทำให้จำนวน                  ผู้ติดเชื้อลดลง (IRRadj = 0.33; 95% CI = 0.11 - 0.95 และ IRRadj = 0.06; 95% CI = 0.04 - 0.32)                 ในขณะที่การแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์สายพันธุ์ Beta และสายพันธุ์ Delta  เพิ่มขึ้นจะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น (IRRadj = 1.24; 95% CI = 1.01 - 1.52 และ IRRadj = 1.02; 95% CI = 1.01 - 1.02) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด 19 พบว่า การได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มเพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ลดลง (IRRadj = 0.84; 95% CI = 0.71 - 0.98)                     การใช้มาตรการห้ามชุมนุมมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 ลดลง (aIRR = 0.18; 95% CI = 0.05 - 0.64) ในขณะที่ผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Beta และสายพันธุ์ Delta เพิ่มขึ้น                   มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 เพิ่มขึ้น (IRRadj = 1.35; 95% CI = 1.03 - 1.76 และ IRRadj = 1.02; 95% CI =1.01 - 1.03)

ดังนั้นการใช้มาตรการห้ามชุมนุม และมาตรการ lockdown รวมถึงการได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม เป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิต อันเป็นผลสำคัญต่อการวางแผนในเชิงนโยบาย ปรับปรุง และพัฒนามาตรการควบคุมและการเฝ้าระวังเชิงรุกต่อโรคอุบัติใหม่ได้ในอนาคต

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด 19. (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/diaryPresentMonth/12/10/2021.

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การแพร่ระบาด ปี 2564

ของประเทศไทย: บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศรายสัปดาห์. (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 19 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.

กรมสุขภาพจิต. (2564). รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือ การกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019. (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 12 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2295.

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 12 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2564). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 16-34.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา2019 (โควิด-19)(ศบค.). (2563). (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 12 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.moicovid.com.

ศรันยา สีมา. (2565). มาตรการปิดเมือง (Lockdown) กับการควบคุมโรคโควิด 19 ในประเทศไทย. (ออนไลน์). วันที่สืบค้น 19 ตุลาคม 2566, เข้าถึงได้จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2565-jan3.

Abu-Raddad LJ, Chemaitelly H, Ayoub HH, et al. (2022). Severity, Criticality, and Fatality of the Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) Beta Variant. Clin Infect Dis, 75(1), 1188-1191.

Bar-On, Y. M., Goldberg, Y., Mandel, M., Bodenheimer, O., Freedman, L., Kalkstein, N., Huppert, A. (2021). Protection against Covid-19 by BNT162b2 booster across age groups. New England Journal of Medicine, 385(26), 2421-2430.

Bhattacharya M, Chatterjee S, Sharma AR, Lee SS, Chakraborty C. (2023). Delta variant (B.1.617.2) of SARS-CoV-2: current understanding of infection, transmission, immune escape, and mutational landscape. Folia Microbiol (Praha), 68(1),17-28.

Courtemanche, C., Garuccio, J., Le, A., Pinkston, J., & Yelowitz, A. (2020). Strong social distancing measures in the United States reduced the COVID-19 growth rate. Health Affairs, 39(7), 1237-1246.

de Souza Melo, A. da Penha Sobral, AIG. Marinho, MLM. Duarte, GB. Vieira, AA. Sobral, MFF. (2021). The impact of social distancing on COVID-19 infections and deaths. Trop Dis Travel Med Vaccines, 7(1), 12.

Bast, E., Tang, F., Dahn, J., Palacio, A. Increased risk of hospitalisation and death with the delta variant in the USA. Lancet Infect Dis. 2021 Dec;21(12):1629-1630.

GISAID. (2021). Phylodynamics of pandemic coronavirus in ASEAN 2021. Retrieved

Sebtember 2021, from https://www.gisaid.org/phylodynamics/asean/.

Lai, FTT., Yan, VKC., Ye, X., Ma, T., Qin, X., Chui, CSL., Li, X., Wan, EYF., Wong, CKH., Cheung, CL., Li, PH., Cheung, BMY., Lau, CS., Wong, ICK., Chan, EWY.. (2023) Booster vaccination with inactivated whole-virus or mRNA vaccines and COVID-19-related deaths among people with multimorbidity: a cohort study. CMAJ, 195(4), 143-152.

Lau, H., Khosrawipour, V., Kocbach, P., Mikolajczyk, A., Schubert, J., & Bania, J. (2020). The positive impact of lockdown in Wuhan on containing the COVID-19 outbreak in China. Journal of Travel Medicine, 27(3), taaa037.

Mahmoudi, J., Xiong, C. (2022). How social distancing, mobility, and preventive policies affect COVID-19 outcomes: Big data-driven evidence from the District of Columbia-Maryland-Virginia (DMV) megaregion. PLoS One, 17(2), e0263820.

Salehi-Vaziri M, Jalali T, Farahmand B, Fotouhi F, Banifazl M, Pouriayevali MH, Sadat Larijani M, Afzali N, Ramezani A. (2021). Clinical characteristics of SARS-CoV-2 by re-infection vs. reactivation: a case series from Iran. Eur J Clin Microbiol Infect Dis, 40(8), 1713-1719.

Tegally, H., et al. (2020). Emergence and rapid spread of a new severe acute respiratory syndrome-related coronavirus 2 (SARS-CoV-2) lineage with multiple spike mutations in South Africa. MedRxiv.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31