การพัฒนานวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, ตั้งครรภ์, โลหิตจาง, ความเข้มข้นเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์และศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ดำเนินการ 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนาการให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัญหา การศึกษาแนวคิดทฤษฎี การสร้างนวัตกรรม ทดลองใช้ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ พัฒนานวัตกรรม จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้คือนวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ประชากรเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ที่มีภาวะความเข้มข้นเลือดลดลงหลังได้รับยาบำรุงแล้วมิใช่กลุ่มที่มีภาวะซีดอย่างเดียว จำนวน 45 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. นวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทำจากแผ่นกระดานแก้วสำหรับติดป้ายร้านค้า ลักษณะวงภายนอกแบ่งโซนสีของวงกลมประกอบด้วย โซนแดง โซนชมพู โซนเหลือง โซนเขียว วงถัดมาบ่งบอกเวลานาฬิกามีเส้นบอกเวลาการทานยา และวงในสุดมีภาพประกอบอาหารที่ต่อต้านการดูดซึมและอาหารช่วยส่งเสริมการดูดซึมยา 2. หลังใช้นวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และระดับความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และการประเมินความพึงพอใจภาพรวมในเรื่องสีสัน รูปภาพ เนื้อหาการสอนจากนวัตกรรม ข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ความพอใจภาพรวมในนวัตกรรมช่วยสอนความรู้ (M= 4.96, SD=0.21) รองลงมาคือ เนื้อหาฟังเข้าใจง่าย และ ช่วยให้เรียนรู้การปฏิบัติตัวได้ดีกว่าเดิม (M = 4.93, SD=0.33) และข้อที่มี่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสะดุดตาในชิ้นงาน (M = 4.64, SD=0.53) ควรนำนวัตกรรมวงล้อนาฬิกาเพิ่มโลหิตสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไปใช้เพื่อให้ความรู้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะความเข้มข้นเลือด(HCT) ลดลงหลังทานยาบำรุง และนำใช้ในการสอนโรงเรียนพ่อแม่ การเยี่ยมบ้าน สอน อสม. เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความรู้ความเข้าใจและแก้ไขปัญหาภาวะซีดได้มากขึ้น
References
กรมอนามัย. (2565). ข้อมูลสถิติของจังหวัดสงขลา จาก HDC กระทรวงสาธารณสุข (วันที่ประมวลผล: 18 พฤศจิกายน 2565).
คณิศร์ณิชา สมทรง ,วรรณะ บรรจง, จิตเกษม หลำสะอาด. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความคงทนในการจําของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยใช้การสอนแบบแผนที่ความคิดร่วมกับเทคนิคการจํานีมอนิคส์กับการสอนแบบปกติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาธาณสุขศาสตร์และสังคมศาสตร์,3(2),13-23.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
ชลธิชา ตานา ,ชเนนทร์ วนาภิรักษ์. (2017). สูติศาสตร์ล้านนา ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. Topic review คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์, สุเทพ วัชรปิยานันทน์. (2553). สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงสาธารณสุข.
ประกายทิพย์ พิชัย. (2558). ทำไมอยากจำแต่กลับลืม. วารสารมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 103-113.
พงษ์สวัสดิ์ ลาภบุญเรือง. (2516) : 12, อ้างจาก Fleming and Sheikhian, 1972. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/6707/9/Chapter2.pdf
พนม สุขจันทร์. (2556). สถานการณ์และการพัฒนาสื่อโภชนศึกษาในโรงพยาบาลสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีและไม่มี ภาวะโรคซีด ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย:การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพงาน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(2),28-36
มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข, สุวรรณี กอวิวัฒนาการ, ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ,13(1),56-72
วราภรณ์ เชื้ออินทร์. (2556). การใช้แนวทางการบริหารจัดการภาวะการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดปริมาณมาก รพ.ศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิสัญญีสาร, 39(3), 236-249.
ศศิวันต์ ศุภนิเวศน์, วณิชา กิจวรพัฒน์, สุดารัตน์ ธีระวร, มลุลี แสนใจ. (2017). การศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์. กรมควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์.วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 11(2), 23-37
ศิริกนก กลั่นขจร. (2564). บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(1), 54-65
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2555). เอกสารการประชุมแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์(ฉบับแก้ไข).รับวันที่11/09/2555 เลขที่รับ1096 ที่ สข.0027.005/ว906
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2556). สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัดจังหวัดสงขลา. (ครั้งที่2/2556 12 มิถุนายน 2556)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2565b). (วันที่ประมวลผล 15 พฤศจิกายน 2565). ข้อมูลจากHDC v4.o.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2565a). (วันที่ประมวลผล 18 พฤศจิกายน 2565). ข้อมูลจากHDC v4.o.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). New jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. 39(2), 175-191.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B, & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม