ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Kanokporn Somporn -

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน, พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross - Sectional Study) พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม 2566 – มีนาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จำนวน 388 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปนำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ

          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.30 อายุเฉลี่ย 67.95 ปี ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.70 (M=2.86, S.D.=0.43) ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 73.40  (M =3.96 , S.D.   =0.59) การรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองในระดับสูง ร้อยละ 67.40 (M = 2.70 , S.D.= 0.50) ภาพรวมของปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.70  (M = 2.88 , S.D.= 0.36) ภาพรวมของปัจจัยเสริมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.50    (M = 2.84 , S.D.=0.39) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองตามหลัก 5 อ. ด้านอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.30 อ. อนามัย อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.00 อ. ออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.60 อ. อารมณ์ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 63.80 และ อ. อดิเรก อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.90 การวิเคราะห์ความเป็นเชิงเส้นใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Enter พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย ปัจจัยนำ (ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านการรับรู้) และปัจจัยเสริม ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 21.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และวรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย: กรณีศึกษาผู้สูงอายุวัยกลางในจังหวัดสมุทราปราการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 28 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2559

นิธิมา สุภารี. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหิดล; 2544.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, และวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2553).ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 14(27),21-36

ภารดี นานาศิลป์. (2558). แกนความรู้การพยาบาลผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุคือใคร อายุ หรือ ปัจจัยใดช่วยกำหนด. พยาบาลสาร ปีที่ 42 ฉบับพิเศษ ธันวาคม 2558.

ยุภาพร นาคกลิ้ง และปราณี ทัดศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(1), 27-35.

วงเดือน คลื่นแก้ว สมศักดิ์ สีดากลุฤทธิ์ และ บุญช่วย ศิริเกษ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 107-117.

สมชาย ต่อเพ็ง. (2552) พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์.

สุวพิชชา ประกอบจันทร์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุตำบลธาตุ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารฉบับพิเศษ ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย, 12 (ฉบับพิเศษ), 543-552.

อาริยา สอนบุญ และคณะ. (2562). วิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความหมายและการจัดการ Way of Elderly Health Care in Community: Meaning and Care Management. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1) : 241-248.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: Theexercise of control. New York: W.H. Freeman.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204)

Orem, D.E.(2001).Nursing: Concept of practice(6th ed).St. Louis, MO: Mosby Year Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31