ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH ของข้าราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
Factors influencing the need for development of MOPH compliance among civil servants under the Phetchaburi Provincial Health Office
คำสำคัญ:
ค่านิยม MOPH, ความต้องการพัฒนา, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, บรรยากาศองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH และปัจจัยทำนายความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากข้าราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามโดยใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามเพื่อทำนายความผันแปร โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 66.5 มีคะแนนเฉลี่ย 140.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 26.23 ตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH มีจำนวน 6 ตัวแปร เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อยดังนี้ 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) อัตราเงินเดือน 3) อายุ 4) ความพึงพอใจต่อบรรยากาศองค์กร 5) ทัศนคติต่อค่านิยม MOPH และ 6) เพศ (Beta = .357, .316, -.209, .169, .139 และ -.107 ตามลำดับ) โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความต้องการพัฒนาการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH ได้ร้อยละ 36.5 (R2 = .365)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาศักยภาพตนเองโดยมีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อเป็นแรงผลักดันภายในไปสู่ความต้องการประสบความสำเร็จ เสริมสร้างบรรยากาศองค์กร ให้เป็นสถานที่ทำงานที่น่าอยู่น่าทำงาน พัฒนาให้ข้าราชการมีทักษะในการทำงานเป็นทีมโดยมองเป้าหมายความสำเร็จขององค์กรเป็นที่ตั้งร่วมกัน พร้อมกับเสริมสร้างและพัฒนาให้ข้าราชการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยม MOPH
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน จุดยืน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ค่านิยม และยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข.สืบค้นวันที่ 13 พฤษภาคม 2565.จาก https://skko.moph.go.th/dward/document_file/d_phupan/common.
กิตติศักดิ์ เขื่อนวงศ์, ทศพล ธีฆะพร และสิทธิพร เขาอุ่น. (2564). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษา. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 54-64.
จุฑามาศ ทวิชสังข์ และลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต. (2561). การพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32.วารสารกระบวนการยุติธรรม, 11(1), 93-107.
ชยา เครื่องทิพย์. (2564). คู่มือการทำวิจัยเบื้องต้น. เอกสารอัดสำเนา.
ดุษฎี อรรจน์อังกูร และกัลยกิตติ์ กีรติอังกูร. (ม.ป.ป.). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. เอกสารอัดสำเนา.
ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง, ฐิติวัฒน์ ยะชัยมา, สุนทร ผจญ และทักษิณา แสนเย็น. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 174-184.
ทิฆัมพร อิสริยอนันต์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 98-111.
เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ผ่านการอบรมวิศวกรใหม่ กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์กร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ธีรวดี ยิ่งมี และมงคลชัย โพล้งศิริ. (2562). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์.
ผกาทิพย์ บัวพงษ์ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทํางานของนักวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 216-230.
พรชนัน ทูลขุนทด และธนพัชญ์ เผือกพิพัฒน์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการ และลูกจ้าง สํานักงานเขตในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 142-151.
มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม ระดับ 5 ดาว ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.
วราภรณ์ โชติสาร. (2563). การพัฒนาตนเองที่ส่งผลต่อความพร้อมด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรของพนักงานธนาคารในการเข้าสู่ธนาคารดิจิตอล (Digital Banking). (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการจัดการ). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรารัตน์ ชูทอง. (2561). ปัจจัยต่อการพัฒนาศักยภาพข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจศาลท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. (การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครศรีธรรมราช: สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิรมณ นุชเนื่อง และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ในความสามารถของตนเองและความพึงพอใจในการทำงานที่มีต่อการพัฒนาตนเองของผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมในสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 10(1), 140-162.
สมภพ ห่วงทอง และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติการ โรงพยาบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 1(1), 51-64.
สำนักงาน ก.พ.. (2548). ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ..
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). การขับเคลื่อนค่านิม MOPH สู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2564). เอกสารสรุปผลการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสานประจำปีงบประมาณ 2564. เอกสารอัดสำเนา.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2563). เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: อัจศรา ประเสริฐสิน.
Best, J. W. (1986). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Bloom, B.S. (1971). Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw – Hill Book.
Brown, W.B., & Moberg. D. J. (1980). Organization theory and Management: A macro approach. New York: Joho Wiley and Sons.
Cronbach, Lee. J. (1977). Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich.
Fishbein, M. and Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Massachusetts: Addison-Wesley.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.). New York: Harper & Row.
McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand Company Ine.
Steers, R.M., & Porter, L.W. (1979). Motivation and work behavior. New York: Mcgraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม