การสำรวจปริมาณน้ำตาลจากเครื่องดื่มชาและกาแฟในห้างสรรพสินค้า จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
เครื่องดื่ม, ความหวาน, น้ำตาลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณน้ำตาลที่ผสมในเครื่องดื่มประเภทชา และกาแฟที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตัวอย่างเครื่องดื่มทั้งหมดจำนวน 77 ชนิด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจค่าความหวาน(BRIX Refractometer) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า เครื่องดื่มชาและกาแฟที่ทำการสำรวจทั้งหมด 77 ชนิดมีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำตาลเท่ากับ มีระดับน้ำตาลอยู่ในระดับสูง เมื่อจำแนกรายกลุ่มพบว่า กลุ่มเครื่องดื่มกาแฟมีค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำตาล ที่พบมากที่สุด คือ ลาเต้ (16.54 g/100ml) และมอคค่า (16.04 g/100ml) ซึ่งมีระดับน้ำตาลอยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มชาค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำตาล ที่พบมากที่สุดคือ ชาไทย (20.28 g/100ml) และชาเขียว (19.68 g/100ml) มีระดับน้ำตาลอยู่ในระดับสูง ผู้บริโภคควรเลือกบริโภคหรือควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มให้เหมาะสมเพื่อลดการได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็น
References
ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2557). เครื่องดื่มน้ำหวานความอร่อยเคลือบยาพิษ. สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/34048-เครื่องดื่มน้ำหวานความอร่อยเคลือบยาพิษ.
ปิยะดา ประเสริฐสม. (2564). โรคฟันผุ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2564 เข้าถึงได้จากhttp://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:6eii2a9QrFQJ:dental.anamai.moph.go.th/elderly/PR/media/nextdec/dent.html
พรรณพิมล วิปุลากร. (2563). เพราะอะไรถึงต้อง “ลดหวาน”. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564 เข้าถึงได้จากhttps://mgronline.com/goodhealth/detail/9630000019836
พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่, ปิยณัฐ ศรีดอนไผ่, ประภาศรี ภูวเสถียร, ยุภาพร นาคงามอนงค์ และประไพศรี ศิริจักรวาล. (2562). ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มรสหวานที่จำหน่ายในมหาวิทยาลัยและบริเวณโดยรอบกรณีศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 49(1), 32-44.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปะเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2018). น้ำตาล. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2564 เข้าถึงได้จาก https://www.nsm.or.th/other-service/1757-online-science/knowledge-inventory/sci-article/science-article-nsm/2724-the-secret-of-sweetness.html
Akpabio, S.P. (1968). The prevalence of dental caries in Nigerian populations. Br Dent J, 124(1), 6.
Lin, L., Li, C., Jin, C., Peng, Y., Hashem, K. M., MacGregor, G. A., He, F. J., & Wang, H. (2018). Sugar and energy content of carbonated sugar-sweetened beverages in Haidian District, Beijing: a cross-sectional study. BMJ open, 8(8), e022048. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2018-022048.
Moynihan P. (2016). Sugars and Dental Caries: Evidence for Setting a Recommended Threshold for Intake. Advances in nutrition (Bethesda, Md.), 7(1), 149–156.
Urwannachotima, N., Hanvoravongchai, P., Ansah, J. P., Prasertsom, P., & Koh, V. R. Y. (2020). Impact of sugar-sweetened beverage tax on dental caries: a simulation analysis. BMC oral health, 20(1), 76. https://doi.org/10.1186/s12903-020-1061-5.
WHO. (2015). WHO calls on countries to reduce sugars intake among adults and children. Searched on 2021 October, 29 from https://www.who.int/news/item/04-03-2015-who-calls-on-countries-to-reduce-sugars-intake-among-adults-and-children.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม