ผลของการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการใช้วัตถุกันเสียในสถานที่ผลิตอาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต ต้วมศรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป, วัตถุกันเสีย, รูปแบบการแก้ไขปัญหา

บทคัดย่อ

รายงานศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี มีเด็กป่วยด้วยภาวะ Methemoglobin พร้อมกันในหลายจังหวัดจากการรับประทานไส้กรอกที่มีไนเตรต-ไนไตรต์เจือปนปริมาณสูง ในจำนวนนี้มีเด็กจากจังหวัดเพชรบุรี 2 ราย  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีจึงสนใจที่จะแก้ปัญหาการใช้วัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมาจัดการ ใช้กระบวนการพัฒนาแบบวงจรการวิจัย (PAOR) จนกว่าจะได้แนวทางการแก้ปัญหาสำเร็จ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้วัตถุกันเสียในสถานที่ผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการใช้วัตถุกันเสียในอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูปในจังหวัดเพชรบุรีแบบมีส่วนร่วม โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปจากสถานที่ผลิตในจังหวัดเพชรบุรีทั้งหมด 12 แห่งเพื่อตรวจหาวัตถุกันเสีย จากนั้นตรวจสถานที่ผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป พร้อมการสัมภาษณ์
เชิงลึกผู้รับอนุญาตหรือผู้ควบคุมการผลิต เพื่อเก็บข้อมูล ข้อเท็จจริง ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต ประเมินความรู้เกี่ยวกับการผลิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดเวทีระดมความคิดเห็น โดยใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group ) เสนอมาตรการ/แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้วัตถุกันเสียในอาหารประเภทผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูป และนำสู่การปฏิบัติจริง จากนั้นสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปเพื่อตรวจหาวัตถุกันเสียหลังการแทรกแซงด้วยรูปแบบการแก้ไขปัญหาฯ เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการแทรกแซงด้วยรูปแบบการแก้ไขปัญหาฯ ผลการศึกษาพบว่าหลายมาตรการ มีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้ผลิตฯ ผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ผลการตรวจหาวัตถุกันเสียในตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.67 เป็นร้อยละ 91.67 ภายหลังการแทรกแซงด้วยรูปแบบการแก้ไขปัญหาฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.005)

References

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.(2565).ดาวโหลดแบบฟอร์ม.สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 จาก http://www.fda.moph.go.th /sites/food/SitePages/Download.aspx.

กิตติมา โสนะมิตร์ และเอกสิทธิ์ เดซานุวัติ. (2564). การประเมินการได้รับสัมผัสไนไตรต์และไนเตรตจากการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 63(1), 160-172.

ชนาธิป ไชยเหล็ก.(2565). ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. สืบค้นเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน 2565 จาก https://www.thestandard.co/rama-warned-methemoglobin-after-child-ate-sausage/.

ฐิติรัตน์ หวังรัตนภักดี .( 2562 ). การศึกษาปริมาณกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไนเตรต ไนไตรต์ ในอาหารกล่องพร้อมรับประทานชนิดแช่แข็งที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 9-19.

ตรีชฎา อุทัยดา. (2563).การพัฒนาลูกชิ้นหมูและศึกษาอายุการเก็บรักษาด้วยการเปรียบเทียบชนิดของบรรจุภัณฑ์.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 22(1), 45-50.

นพณัฐ ทวีกุล. (2564).การศึกษาปัญหายาไม่เหมาะสมในร้านชำอำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี.เข้าถึงได้จาก http://pbio.moph.go.th/oldweb/?page_id=15532.

บุญส่งค์ ลี้สุรพลานนท์.( 2561).การศึกษาสถานการณ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์จังหวัดนครราชสีมา 2560. วารสารอาหารและยา, 58-66.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559. เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4).(2559). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 298 ง, 3-4.

พัชราภรณ์ เกียรตินิติ,ประวัติ.ชรินรัตน์.( 2564 ).การประเมินความเสี่ยงของการรับสัมผัสกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกจากการบริโภคหมูยอในเขตสุขภาพที่ 10 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๑๐ อุบลราชธานี. วารสารอาหารและยา . 28(3), 39-41.

พรรณพิสุทธิ์ สันติภราดร.( 2565). ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/326

สัณหณัฐ ชูแสง, เบญจมาศ วงศ์สาลีล, ศิริลักษณ์ มีสุวรรณ, ดลฤทัย ศรีทะ, ธนกฤต จันทร์คง และกนกวรรณ สิงห์อาษา.(2564).ไนเตรตในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปในตลาดนัดในเขตเทศบาลตำบลบางพระอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.วารสารอาหารและยา.28(2). 59-63.

สุชาติ ถนอมวราภรณ์.( 2562).การศึกษาการใช้วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งโรตีสายไหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอาหารและยา,76-92.

ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูม. (2560 ). ปฏิบัติการกำจัด สารไนไตรต. Foodie’s Corner. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC), 53-57.

ศูนย์ข่าวผู้บริโภค.( 2565 ).นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน 2565 จาก https://www.consumerthai.org/consumers-news/ffc-news/597.

อริสรา เรืองคำ และพัชรินทร์ วัฒนสิน.( 2563 ).การประเมินความเสี่ยง กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไนเตรต และไนไตรต์ สีอินทรีย์สังเคราะห์ เชื้อจุลินทรีย์ชนิด Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. ในเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมักในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(5), 831-838.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-22