แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Paiboon Sripimsor -

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วม และศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรประชาชนอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่อาศัยในเขตอำเภอกุดจับ จำนวน 381 คน โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.60, S.D.=0.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตามแผนการป้องกันอุบัติเหตุ อยู่ในระดับมาก (M=3.94, S.D.=0.84) ด้านการวางแผนการป้องกันอุบัติเหตุ อยู่ในระดับมาก (M=3.53, S.D.=0.98) ด้านการค้นหาปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.48, S.D.=0.97) และด้านการประเมินผลการป้องกันอุบัติเหตุ อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.46, S.D.=1.08) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยภาพรวมประชาชนขาดความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนไม่ทราบว่าจะได้รับผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนน้อย ไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยและจิตสำนึกต่อส่วนรวมแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้ ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเข้ามามีบทบาททำงานร่วมกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ด้านการให้ความรู้กับประชาชนเป็นการส่งเสริมโดยการจัดโครงการป้องกันอุบัติเหตุและสอดแทรกความรู้ให้แก่ประชาชน

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2554). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563. ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน.

กฤตพงศ์ โรจน์รุ่งศศิธร. (2548). สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่ยวดยานในเขตนิคมอุดสาหกรรมแหลมบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโขบายสาธารณะ มหาวิทยลัยบูรพา, ชลบุรี.

จตุรงค์ นาคร. (2558). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในเทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุรีรัตน์ สุนทรไซยา. (2554). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้นำชุมชน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม วิทยาลัยการบริหารและจัดการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.

ชวนพิศ หนูจันทร์. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ตำบลเวียงอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์, ศาสตรา รีพรม, สุธาทิพย์ ภัทรกุลวณิชย์, ชลธิชา คำสอ, พานนท์ ศรีสุวรรณ, พรรษา สวนพุฒ, กฤศ เรียงไธสง, บารเมษฐ์ ผมคำ, วรัญชภรณ์ พลเขตร์. (2559). แนวทางการประเมิน การดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน DHS-RTI. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

พัทธนันท์ คงทอง. (2556). พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์: กรณีศึกษาชุมชนตำบล ท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสารศรีนครินวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(9), 116-130.

วิไลวรรณ บัวชุม. (2559). ประสิทธิผลการจัดการความปลอดภัยทางถนนตามยุทธศาสตร์ 5E เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนของสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครนครปฐม.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6 มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรุณรัตน์ ไชยวิริทโชดิ. (2546). แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนในช่วงเทศกาล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ธนบุรี.

World Health Organization [WHO]. (2015). รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2558. ประเทศไทย : บริษัท สแกนด์-มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31