ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นตอนต้น อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • jirapat Pumchaya -

คำสำคัญ:

ความแข็งแกร่งในชีวิต, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, วัยรุ่นตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแกร่งในชีวิต การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้นก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต และเพื่อเปรียบเทียบความแข็งแกร่งในชีวิต การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-14 ปี ที่กำลังศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี มีจำนวนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 23 คน รวมทั้งหมด 46 คน  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของกรอทเบอร์ก แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ โดยเก็บข้อมูลก่อน-หลังการใช้โปรแกรม สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired t-test  และ Independent t-test     

ผลการศึกษา พบว่าภายหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตและคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t= -5.025, p< .001 และ t=-3.707, p=.001 ตามลำดับ) และคะแนนเฉลี่ยความแข็งแกร่งในชีวิตและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังเข้าร่วมโปรแกรมในกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=3.37, p=.002 และ t=2.53, p=.015 ตามลำดับ)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการนำแนวทางการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสนอในเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเพื่อขยายผลใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นตอนต้นอันจะส่งผลให้วัยรุ่นตอนต้นสามารถปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ต่อไป

References

กานดา นาควารี, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 29(2), 46-63.

จุฑาวดี กมลพรมงคล, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2555). ผลของการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนประถมศึกษาชาย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 7(2), 84-99

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2551). คู่มือจัดกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2555). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาล. 61(2), 18-27.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรม เสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ;์ 2551.

สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. (2563). รายงานการผลการดําเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1438820200823062406.pdf

อังสุมาลิณ จันทรมณี, สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์, และจุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2560). ปัจจัยและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นหญิงในสถาบันอาชีวศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 117-129. doi: 10.14456/asj-psu.2017.31

Bandura, A. (1997). Social Learning Theory. New Jersy: Englewood Cliffs.

Burns, N. & Grove, S.K. (2005). The Practice of nursing research: Conduct, critique, and utilization (5th ed.). The United States of America: Elsevier Saunders.

Grotberg, E. H. (1995). A Guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. Retrieve February 02, 2018, from http://www.bibalex.org/Search4Dev/files/283337/115519.pdf

Hurlock, E.B. (1967). Adolescent development (3rd ed). New York: McGraw-Hill Book.

Johnson, N., Dinsmore, J. A., & Hof, D. D. (2011). The relationship between college students’ resilience level and type of alcohol use. International Journal of Psychology: A Biopsychosocial Approach. 8, 67–82.

National Institute on Alcohol Abuse

and Alcoholism (NIAAA). (2017). Underage Drinking. Retrieved March 2, 2018, from https://pubs.niaaa.nih.gov/publications/underagedrinking/underagefact.htm

Squeglia, L.M., Jacobus, J., &Tapert, S.F. (2014). The effect of alcohol use on human adolescent brain structures and systems. NIH Public Access Author Manuscript. 125, 501–510. doi:10.1016/B978-0-444-62619-6.00028-8.

Takviriyanun, Phuphaibul, Villarruel, Vorapongsathorn & Panitrat. (2007). How do environmental risks and resilience factors affect alcohol use among thai adolescents?. Thai J Nurs Res. 11(3), 151-165.

Wong, M. M., Nigg, J. T., Zucker, R. A., Puttler, L. I., Fitzgerald, H. E., Jester, J. M., Glass, J. M., &Adams, K. (2006). Behavioral control and resiliency in the onset of alcohol and illicit drug use: A prospective study from preschool to adolescence. Child Development, 77 (4), 1016–1033.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-04