ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • teeradech chanakul -

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง ความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการเกิดโรคแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคเบาหวาน  ชนิดที่ 2 มาตรวจรักษาโรงพยาบาลเขาพนม  ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงมิถุนายน 2565 อย่างน้อย 2 ครั้ง และยินดีร่วมมือในการศึกษา จำนวน 340 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกการรักษาพยาบาล ระหว่างวันที่ 3 – 20 ตุลาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test พบผลการศึกษา ดังนี้

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 74.1 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 20.0 และ 5.9  มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดี และต่ำ ร้อยละ 26.5 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การได้รับการสนับสนุนทางสังคม การรับการรักษาตามแพทย์นัด และการป่วยเป็นโรคไวรัสโคโรนา 2019 ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง  ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 60.3 ซึ่งพบเป็นโรคความดันโลหิตสูง ชาปลายมือปลายเท้า ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานขึ้นตาหรือจอตาเสื่อม โรคไตวาย  และแผลเรื้อรัง ร้อยละ 40.3, 25.0, 12.4, 8.8, 5.6, 5.3 และ 1.8 ตามลำดับ

References

กานต์ชนก สุทธิผล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร.5(2): 1-12.

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3): 256-68.

ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ และกิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ. (2559). อันตรายจากโรคเบาหวาน. วารสารวิทยเทคโน หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 81. 2(2); 1-8.

พัชรี สุวรรณ์. (2564). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมุทรสาคร. รายงานวิจัย.

พีระ บูรณกิจเจริญ. (2559). ความดันโลหิตสูง. (ออนไลน). แหลงที่มา http://www.si.mahidol. ac.th/ sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=47 (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565)

ภรณี นนท์ธนสิน, สมศรี เนติรัฐกร และโสพิน ศรีสมโภชน์. (2557). พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัย.

มาโนชญ์ แสงไสยาศน์. (2565). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัย.

รื่นจิต เพชรชิต. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2(2); 15-28.

โรงพยาบาลเขาพนม. (2565). สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเขาพนม. กระบี่: โรงพยาบาลเขาพนม.

วรรณี นิธิยานันท์. (2559). ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ. (ออนไลน). แหลงที่มา https://www. hfocus.org/content/2019/11/ 18014(2563). (สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565)

สมคิด¬ ธงสุวรรณ. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัย

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). รู้จักโรคเบาหวาน. (ออนไลน). แหลงที่มา http://www. dmthai.org/news_and_knowledge/88 (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565)

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2563). การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัด COVID-19. (ออนไลน์). แหล่งที่มา https://www.dmthai.org/ attachments/article/1004/covid-19_in_dm.pdf (สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2565)

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 17 เมษายน 2563. (ออนไลน). แหลงที่มา https:// www. who.int/docs/default-source/ searo/thailand/2020-04-17-tha-sitrep-55-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=f2598181_0 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565)

อรพิน สีขาว. (2558). การจัดการโรคเบาหวาน: มิติของโรคและบทบาทพยาบาล. สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

อััมพา สุุทธิิจำรููญ. (2565). มาตรฐานคลินิกเบาหวานของประเทศไทย. วารสารเบาหวาน. 54(1): 19–22.

American Diabetes Association. (2014). Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care, 37; S81-S90.

Beckie T. A. (1989). Supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung, , 18; 46-55.

Davies, M. J., D’Alessio, D. A., Fradkin, J., Kernan, W. N., Mathieu, C., Mingrone, G., Buse, J. B. (2018). Management of Hyperglycemia in Type 2 Diabetes, 2018. A Consensus Report by the American Diabetes Association and the European Association for the Study of Diabetes (EASD). Diabetes Care, 41(12), 2669. doi:10.2337/dci 180033.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2015). Health program planning an educational and ecological approach. New York: Quebecor World Fairfield.

Hirunkhro, B., Dussaruk, D., Poko, S., Siriniyomchai, C., & Kitiyanu,C. (2021). Foot Care: The Problems That Should Not Be Overlooked among Diabetic Elders in Community, EAU Heritage Journal Science and Technology. 15(1): 46-61.

Karter AJ, Parker MN, Moffet HH, Ahmed AT, Ferrara A, Liu JY, et al. (2014). Missed appointment and poor glycemic control : an opportunity to identified high-risk diabetes patients. Med Care. 42: 110-5.

Komin, S. (2013). Nutrition therapy for diabetic patients. In Wichayanarat, A (editor) diabetes textbook. Bangkok : Ruean Kaew Printing. (in Thai)

Parohan M, Yaghoubi S, Seraji A, Javanbakht MH, Sarraf P, Djalali M. (2021). Risk factors for mortality in patients with Coronavirus disease 2019 (COVID-19) infection: a systematic review and meta-analysis of observational studies. Aging Male. 23(5): 1416-24.

Salahshouri, A., Zamani Alavijeh, F., Mahaki, B., & Mostafavi, F. (2018). Effectiveness of educational intervention based on psychological factors on achieving health outcomes in patients with type 2 diabetes. Diabetol Metab Syndr. 10, 67. doi:10.1186/s13098-018-0368-8

Timiras, P. S. (Ed.). (2003). The endocrine pancreas, diffuse endocrine glands and chemical mediators. In Physiological basis of aging and geriatric. New York: CRC Press.

Yamane, T. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. London : John Weather Hill,Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26