ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด - 19 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • Thanwarat Channuan -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, เชื้อไวรัสโคโรนา2019, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด อำเภอ นาทวี จังหวัดสงขลา  จำนวน 208 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยที่ใช้วิจัยคือแบบวัดความรู้ได้ค่า KR20 เท่ากับ .803 สำหรับแบบสอบถามทัศนคติและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19  ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .772 และ .774 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า

ชนิดของโรค ระยะเวลาที่ป่วยและการได้รับวัคซีน มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19ของผู้ป่วยเรื้อรังในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยชนิดของโรคระบบทางเดินหายใจ มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการป้องกันที่สูงกว่าชนิดของโรคเบาหวาน  3.33 เท่า (ORadj=3.33, 95%CI: 1.23-9.00) ระยะเวลาที่ป่วยโรคเรื้อรังน้อยกว่า 5 ปี มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการป้องกันที่สูงกว่าระยะเวลาที่ป่วยโรคเรื้อรังมากกว่าเท่ากับ 6 ปีขึ้นไปถึง 5.77 เท่า (ORadj=5.77, 95%CI: 2.74-12.16) และการได้รับวัคซีนโควิด3 เข็ม มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการป้องกันที่สูงกว่าไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีน1-2 เข็ม 3.07 เท่า (ORadj=3.07, 95%CI: 1.56-6.04)  อย่างไรก็ตาม พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพ ความรู้ ทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรรณรงค์เชิงรุกเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับวัคซีนป้องกันโรคตลอดจนเร่งรัดและมีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

References

กฤษฎา พรหมมุนี และ ฆายนีย์ ช.บุญพันธ์. (2565). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษาตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

กันต์ธมน สุขกระจ่าง, บุญชัย เพรามธุรส, เยาวลักษณ์ เพรามธุรส, ธนะรัตน์ รัตนกูล และ สารภี จุลแก้ว. (2559). ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตรับผิดชอบของรพ.สต. บ้านท่าไทร (หมู่ 5-9) ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา.ใน ชัยรัตน์ ประธาน (ประธาน), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

เกรียงไกร นาคะเกศ. (2563). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโควิด-19 (COVID-19). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565. จาก: http://siweb1.dss.go.th/ dss_doc/dss_doc/show_discription_doc.asp?ID=2284

จุฑาวรรณ ใจแสน. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ตวงพร กตัญญุตานนท์และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 7(1), 8-19.

ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ (2563). เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมว่าด้วยเส้นทางชีวิตและกิจกรรมร่วมของครัวเรือนไทยภายใต้สถานการณ์ COVID-19. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(37): 179-195.

พัชรินทร์ เงินทอง, นันทพร แสนศิริพันธ์, นริศรา ใคร้ศรี. (2565). การสนับสนุนที่จําเป็นต่อความสําเร็จในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือของไทย: การศึกษาเชิงคุณภาพแบบพรรณนา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(2), 1-12

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง 29 กุมภาพันธ์ 2563.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สยามบุ๊คส์.

ลักษณา พงษ์ภุมมา และ ศุภรา หิมานันโต. (2560). ความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 20(40), 67-76.

สวรรยา สิริภคมงคล และสำราญ สิริภคมงคล. (2559). ปัจจัยด้านประชากร สังคม และ ปัจจัยด้านสุขภาพที่มีผลต่อความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้ป่วยเบาหวาน กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ กรมควบคมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 จาก https://he01.tci-thaijo.org/

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, สุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14(2): 124-33.

สุรีพันธุ์ วรพงศธร. (2558). การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑรูย์การปก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563 ). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 จาก https://www.thaihealth.or.th

Ahorsu, D. K., Lin, C. Y., Imani, V., Saffari, M., Griffiths, M. D., & Pakpour, A. H. (2020). The Fear of COVID-19 Scale: Development and Initial Validation. International Journal of Mental Health and Addiction, 1–9. Advance online publication.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Kumari, A., Ranjan, P., Chopra, S., Kaur, D., Kaur, T., Kalanidhi, K. B., ... & Vikram, N. K. (2021). What Indians Think of the COVID-19 vaccine: A qualitative study comprising focus group discussions and thematic analysis. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 15(3), 679-682.

Lee, S. A. (2020). Coronavirus Anxiety Scale: A brief mental health screener for COVID-19 related anxiety.Death Studies. doi.org/10.1080/07481187.2020.1748481

Paul E, Steptoe A, & Fancourt D. (2021). Attitudes towards vaccines and intention to vaccinate against COVID-19: Implications for public health communications. Lancet Reg Health Eur, 1:100012.

Robinson, E., Jones, A., & Daly, M. (2020). International estimates of intended uptake and refusal of COVID-19 vaccines: A rapid systematic review and meta-analysis of large nationally representative samples. medRxiv.

Sherman, S. M., Smith, L. E., Sim, J., Amlôt, R., Cutts, M., Dasch, H., ... & Sevdalis, N. (2021). COVID-19 vaccination intention in the UK: results from the COVID-19 vaccination acceptability study (CoVAccS), a nationally representative cross-sectional survey. Human vaccines & immunotherapeutics, 17(6), 1612-1621.

Sonawane et al. (2021). COVID-19 vaccination in the UK: Addressing vaccine hesitancy. The 245-251.

UNFPA Thailand. (2020). The impact of COVID 19 on older persons in Thailand evidence from the survey. Retrieved 30 January 2022 from https://thailand.unfpa.org/en/covid-op

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report – 71. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31