การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • Kanokporn Somporn มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โควิด-19, การดูแลสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2564 คาดประมาณการในปี พ.ศ. 2568 ผู้สูงอายุไทยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 20 หรือมีจำนวนถึง 14.5 ล้านคน และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ปัญหาของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความชรา เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลงตามธรรมชาติ และมักทำให้เกิดโรคในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง อัมพฤกษ์/อัมพาต เป็นต้น และยังต้องประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เป็นวิกฤติที่ทั่วโลก และผู้สูงอายุเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว และอาจส่งผลให้อาการรุนแรงมากกว่ากลุ่มวัยอื่น ๆ ซึ่งผู้ดูแลผู้สูงอายุ และตัวผู้สูงอายุ ต้องมีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (Health care in the Ageing)         ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลเพื่อเพิ่มความผาสุกของชีวิตและความมีคุณค่าของตนเองด้วยกิจกรรม 6 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย โภชนาการ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การพัฒนาทางจิตวิญญาณ และการจัดการความเครียด ซึ่งการจะทำให้กระบวนการดังกล่าวสมบูรณ์ได้นั้นต้องอาศัยภาคีเครือข่ายทางสังคมเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการมีสุขภาพดี โดยเฉพาะชุมชนที่ผู้สูงอายุอยู่อาศัย การช่วยเหลือเกื้อกูลจะช่วยส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและสังคม ให้สามารถพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันและอนาคต

References

Pender, NJ. (1996) Health promotion in nursing practice. 3rd edition. New York: Appleton & Lange.

แจ่มจันทร์ เทศสิงห์ และพัชรี แวงวรรณ. (2564). บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 7(2). 19-36.

กรมกิจการผู้สูงอายุ, (2564). คู่มือระบบดูแล และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่. สืบค้นออนไลน์ https://www.dop.go.th/th/know/5/196

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรมกิจการผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร.

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

กรมสุขภาพจิต. (2563). องค์ความรู้การดูแลสุขภาพใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 "ใจพร้อม ไม่ยอมป่วย". นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

กาญจนา บัวหอม, ศศิกานต์ กาละ, และสุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. (2560). ผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(2): 38-51

จิณณ์ณิชา พงษ์ดี, และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยของแก่น, 3(4), 561-576.

จุฑามาส ทองประดับ. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 12(1). 71-79

ณัชศฬา หลงผาสุข, (2562). กิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน. วชิรสารการพยาบาล. 21(2). 67-76

ดมิสา เพชรทอง, และคณะ. (2563). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน : ความเครียดและแนวทางการจัดการความเครียด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(1). 1-11

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(1), 64-71.

พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร และคณะ, (2559). การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(1). 14-25

พิรุฬห์ ศิริทองคำ. (2550). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

มะลิ โพธิพิมพ์ และคณะ. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพ ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), 119-130.

ยุทธนา พูนพานิช และแสงนภา อุทัยแสงไพบูลย์. (2557). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพโดยชุมชน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(2), 226-238.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. (2559). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนาภรณ์ วัฒนา. (2557). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสัมพันธภาพต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความพึงพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา (วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วงเดือน คลื่นแก้ว สมศักดิ์ สีดากลุฤทธิ์ และ บุญช่วย ศิริเกษ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 107-117.

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2564). ผู้สูงอายุในชุมชนเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : การสร้างเสริมสุขภาวะตามแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของแพนเดอร์. วารสารพัฒนศาสตร์. 4(2). 184-211

วิภา สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2564). การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในชุมชนในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 8(1). 1-14

ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. (2557). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม กรณีศึกษา อ.องครักษ์ ตำบลองครักษ์ จ.นครนายก. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 353-360.

สมสุข นิธิอุทัย และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 303-325.

สราลี สนธิ์จันทร์ และ วิรัตน์ สนธิ์จันทร์. (2565) การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงของผู้สูงอายุในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(1), 64-77.

สุจินดา สุขรุ่ง และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการ AIC: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 159-176.

สุพรรณี เตรียมวิศิษฏ์ และคณะ (2564). คู่มือการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. สื่อออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/SMVyp

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3), 57-69.

อมร สุวรรณนิมิต และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี, 46-53.

อัจฉรา ปุราคม และคณะ. (2556). กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในอําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(4), 1/14- 14/14.

อัจฉรา ปุราคม และยอดแก้ว แก้วมหิงสา. (2556). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (รายงานการวิจัย). คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

อัสณีย์ มะนอ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ของตำรวจที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(2), 123-132.

อาริยา สอนบุญ และคณะ. (2562). วิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความหมายและการจัดการ Way of Elderly Health Care in Community: Meaning and Care Management. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1) : 241-248.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31