ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละออง ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของประชาชนตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • Huttaya Malaicharoen -

คำสำคัญ:

ประชาชน, ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5), พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของประชาชนตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จากกลุ่มตัวอย่าง 403 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิง ร้อยละ 55.83 มีอายุระหว่าง 18–86 ปี อายุเฉลี่ย 40.20 ปี (SD=13.62) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอนุปริญญา อาศัยอยู่ในพื้นที่เฉลี่ย 27.54 ปี (SD=16.46) ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 มีการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันตนเอง มีการจัดสภาพแวดล้อมป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้รับปัจจัยเสริมและมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก ฝุ่น PM2.5 ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 ได้แก่ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว พบว่า อายุ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำ (r=-.221, p<.001 และ r=-.145, p=.003)  รายได้และความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำ (r=.105, p=.035 และ r=.195, p<.001)  การเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น PM2.5  การจัดสภาพแวดล้อมในการป้องกันฝุ่นPM2.5 และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง (r=.456, p<.001 ; r=.487, p<.001 และ r=.454, p<.001) งานวิจัยเสนอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่จัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ และวิธีการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 ให้แก่ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมให้ทุกครอบครัวจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น PM2.5 เช่น หน้ากาก N95 ให้กับประชาชน

References

กนกวรรณ เชิงชั้น. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันมลพิษทางอากาศ ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง, กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563]. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง, กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงของประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564]. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php?grpIndex=0

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง, กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563]. แหล่งข้อมูล. http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php

จิราภรณ์ หลาบคำ, จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา และธนาพร ทองสิม (2560). พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นหินของพนักงานโรงโม่หินในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 71-83.

ชนาพร เขื่อนเป๊ก และทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกัน การสัมผัสมลพิษทางอากาศของผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซต์รับจ้างในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(33), 14-25.

ณภัทร พงษ์เทิดศักดิ์, พัชรา ก้อยชูสกุล และพิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์. (2558). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองในภาวะหมอกควันของประชาชน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(17), 140-147.

ณัฐสิษฐ์ ลีนานนท์. (2551). การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศของประชาชนในเขตพื้นที่ถนนคีรีนคร ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารงานทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

เทศบาลตำบลหน้าพระลาน. ข้อมูลประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563]. แหล่งข้อมูล. https://www.naphralan.go.th/condition.php

บุปผา โพธิกุล, สุรินธร กลัมพากร และวีณา เที่ยงธรรม. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิลิโคซิสของคนงานโรงโม่หินในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 : The 15th Graduate Research Conferences, 1749-1758.

ปิยะนุช บุญวิเศษ, มัณฑนา ดำรงศักดิ์ และธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสฝุ่นธูปในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป. พยาบาลสาร, 40(4), 80-90.

พัชรพงศ์ สอนใจ. (2544). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศและเสียงของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ในเขตเทศบาลนครนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟเคอร์ มิสท์

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง, สรายุทธ กันหลง และอิทธิกร ขำเดช. (2559). การวิจัยแบบผสมวิธี: กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอภิชาตการพิมพ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563]. แหล่งข้อมูล http://203.157.115.44/hdc/reports/page.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68

องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลาน. ข้อมูลประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563].แหล่งข้อมูล. http://napralan.go.th/public/texteditor/data/index/menu/498

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield.

IQAir AirVisual. รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก พ.ศ.2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2018. [สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563]. แหล่งข้อมูล https://www.iqair.com/th/world-most-polluted-countries

World Air Quality Index. (2020). ดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ [อินเตอร์เน็ต]. 2020. [สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563]. แหล่งข้อมูล https://waqi.info/th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31