การพัฒนาแนวทางการติดตามพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19 อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • Ekkapol Hemmara MINISTRY OF PUBLIC HEALTH
  • ธิดา เหมือนพะวงศ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

คำสำคัญ:

แนวทางการติดตามพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง, ชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

          การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.และพัฒนาแนวทางการติดตามพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณ จำนวน 176 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (สีเขียวอ่อน) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเชิงคุณภาพ จำนวน 25 คน เป็นตัวแทนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนทีมหมอประจำครอบครัว คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย แบ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้สนทนากลุ่ม ข้อคำถามปลายเปิด การวิจัยเชิงปริมาณใช้ทะเบียน จำแนกกลุ่มตามแนวทางปิงปองจราจร 7 สี แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ หาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Cronbach เท่ากับ 0.922 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 ด้านระดับพอใช้ มีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไร้เชื้อ และป้องกันการติดเชื้อไวรัส-19 ระดับดีมาก ส่วนการพัฒนาแนวทางการติดตามพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19 แบ่งเป็น 3 ด้าน 1. ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง 2. อสม. ติดตามกลุ่มเสี่ยง ทุก 2 สัปดาห์ 3. สร้างความเข้มแข็งให้อำเภอ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ช่องทางการสื่อสารผ่านกรุ๊ปไลน์ และคู่มือ 3อ.2ส. ออนไลน์

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานผลการทบทวน ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จากเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1187720211012064924.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288

นันทกร ทองแตง. (2562). โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564. จากเว็บไซต์ : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371

พวงผกา สุริวรรณ. (2564). รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ด้วยกระบวนการจัดการความรู้จังหวัด

ลำพูน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 17(2), 41-50. มูลนิธิสุขภาพภาคใต้.(2562). ถอดบทเรียน DHS South การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : หจก.ภาพพิมพ์

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2553). การจัดการความรู้และสังเคราะห์ แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนโดน. (2564). สรุปรายงานผลการคัดกรองโรคไม่ติดต่อ ไตรมาส 1 ประจำปีงบประมาณ 2564.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนโดน. (2564). สรุปรายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำปี 2564.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานประจำปี 2560. เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2563. จากเว็บไซต์ : http://www.thaincd.com/document/file/download/paper- manual/NCDReport60.pdf

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. Deakin University : Victoria Austrlia;

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing qualitative research: multiple strategies. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Weiers, M. R. (2005). Introduction to business statistics (5th ed.). Pensyllvania: Brooks/Cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-24