เปรียบเทียบปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อความไว้วางใจ ของผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • กูลจิตร รุญเจริญ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจ ปัจจัยคุณภาพบริการ แผนกผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจ  ปัจจัยคุณภาพบริการและเปรียบเทียบปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อความไว้วางใจของผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง 399  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งที่มองเห็นได้    ด้านความเชื่อถือได้   ด้านการตอบสนองผู้รับบริการ ด้านความมั่นใจ  ด้านความเอาใจใส่ดูแลผู้รับบริการและความไว้วางใจเท่ากับ 0.93,  0.91, 0.91,  0.95, 0.95  และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย  ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Factorial ANOVA  ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  อายุระหว่าง 20-40  ปี  ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี  รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน  อาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป   ที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่า  20 กม.   ส่วนใหญ่มีความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลศรีสะเกษ  ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 83.2   จำนวนครั้งที่มารับบริการเฉลี่ย 4 ครั้งต่อปี  เมื่อวิเคราะห์ความไว้วางใจในภาพรวม พบว่า มีระดับความไว้วางใจปานกลางร้อยละ 46.4  รองลงมาคือระดับมากและน้อยร้อยละ 41.4 และ 12.2 ตามลำดับ  ส่วนปัจจัยคุณภาพบริการพบว่า ปัจจัยคุณภาพบริการด้านสิ่งที่มองเห็นได้ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านการตอบสนองผู้รับบริการ ด้านความมั่นใจ ส่วนใหญ่มีระดับปานกลางร้อยละ 49.6  , 44.1  ,43.6  และ 50.1 ตามลำดับ แต่ปัจจัยคุณภาพบริการด้านความเอาใจใส่ดูแลผู้รับบริการพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับมากร้อยละ 95.5  และเมื่อการเปรียบเทียบปัจจัยคุณภาพบริการกับความไว้วางใจ  พบว่า ด้านการตอบสนองผู้รับบริการ   ด้านความมั่นใจ และด้านความเอาใจใส่ดูแลผู้รับบริการแตกต่างกันมีผลต่อคะแนนความไว้วางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนปัจจัยคุณภาพบริการด้านสิ่งที่มองเห็นได้ และด้านความเชื่อถือได้พบว่าไม่มีผลต่อคะแนนความไว้วางใจ  แต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพบริการด้านสิ่งที่มองเห็นได้  ด้านความเชื่อถือได้  ด้านการตอบสนองผู้รับบริการ  ด้านความมั่นใจและด้านความเอาใจใส่ดูแลผู้รับบริการ  มีผลร่วมกันต่อคะแนนความไว้วางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

References

กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรีและปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2554). การประเมินระดับคุณภาพ บริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯ ด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนา
มจธ, 34(4), 443-456.
แก้วมณี กิ้งเงิน. (2549). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลลพบุรี. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
งามพิศ ศิริเวชธำรง. (2559). การพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาลกู่แก้ว. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 24(1), 75-83.
จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และอรณัฏฐ์ นครศรี.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าต่อโรงพยาบาล
เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 39-50.
จารุณี ดาวังปา และมณีรัตน์ ภาคธูป. (2560). คุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ป่วยประกันสังคม โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 215-226.
ไชยชนะ จันทรอารีย์ , มาเรียม นะมิ และอัมพล ชูสนุก. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 25-40.
ฐิติวรดา บุตรนนท์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการ และความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลโดยมีความพึงพอใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน : กรณีศึกษาแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลภาคเอกชนและโรงพยาบาลภาครัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถอดรหัสการสร้างความไว้วางใจในการบริการ. [ออนไลน์] . (2557). [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563],
เข้าถึงได้จาก : https://th.jobsdb.com/th-th/articles/t-r-u-s-t-ถอดรหัสการสร้าง/.
ทัศนีย์ จุลอดุง, สมอาจ วงษ์ขมทอง และ สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. (2556). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการคลินิกนอกเวลาราชการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 26(3), 281-300.
ปิยวรรณ เสรีพงค์. (2558). ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์ในการให้บริการของโรงพยาบาล
สตูล. สตูล : กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลสตูล.
ปริมใจ โพธิ์รักษา และ ทิพทินนา สมุทรานนท์. (2561). ความไว้วางใจในหัวหน้างาน ความยึดมั่นผูกพันในงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน. วาสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), 249 - 273.
โรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก (2562). Service Profile กลุ่มงานผู้ป่วยนอก. โรงพยาบาลศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลฯ.
วิวัฒน์ พุทธวรรณไชย. (2556). ความไม่ไว้วางใจกันระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการและการฟ้องร้อง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 13(3), 407-408.
ศิรภัสร์ บุญมี. (2555). เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลองหลวงและโรงพยาบาลลำลูกกา (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2554). คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาลในเขตจังหวัด
ปทุมธานี. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2563). เอกสารการประชุม 21st HA National
Forum Enhancing Trust in Healthcare, ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี.
นนทบุรี : สถาบันฯ.
สุมนัส บุญมี. (2553). คุณภาพการให้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ
รัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).
ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โสรัจจะราช เถระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่มีผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563], [เข้าถึงได้จาก :
https://www.facebook.com/1613122286/posts/10217243691597009/].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31