แนวทางการตรวจสอบภายในสำหรับภาคีเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • สุภเวช ชัยทัศน์ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

คำสำคัญ:

การตรวจสอบภายใน, แนวทาง, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของแนวทางการตรวจสอบภายในสำหรับภาคีเครือข่ายจังหวัดราชบุรี และการความต้องการของผู้ปฏิบัติ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการตรวจสอบภายในสำหรับภาคีเครือข่ายจังหวัดราชบุรีโดยใช้เทคนิค nominal group technique (NGT) และระยะที่ 3  การตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

          ผลการวิจัย ระยะที่ 1. องค์ประกอบของการตรวจสอบภายในของภาคีเครือข่าย และความต้องการของผู้ปฏิบัติ และระยะที่ 2. การพัฒนาแนวทางการตรวจสอบภายในสำหรับภาคีเครือข่ายจังหวัดราชบุรีโดยเทคนิค NGT นำแนวคิดของการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน จากการทบทวนพบองค์ประกอบของการตรวจสอบภายในมีหลายหัวข้อ และหลายแบบ พัฒนาโดยมีต้นแบบมาจากแนวทางการตรวจสอบภายในของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีหัวข้อการตรวจสอบทั้งหมด 28 หัวข้อ แบบสอบทานตามหัวข้อจำนวน 28 หัวข้อ กระดาษทำการ การรายงานการดำเนินงาน และแนวทางการปฏิบัติงาน ซึ่งความต้องการของผู้ปฏิบัติคือ ง่ายต่อการนำไปใช้งาน เป็นแบบแผนเดียวกันทั้งจังหวัด เพื่อความถูกต้อง ลดความซ้ำซ้อน และรวดเร็วในการตรวจสอบ

ระยะที่ 3 การตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่าน ต่อแนวทางการตรวจสอบภายในสำหรับภาคีเครือข่ายของจังหวัดราชบุรีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่าความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 4.34 ± 0.37 คะแนน) ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.37 ± 0.30 คะแนน) โดยผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่า แนวทางการตรวจสอบภายในสำหรับภาคีเครือข่ายมีข้อดี คือ เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานของสถานพยาบาลและทีมตรวจสอบภายใน ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และไม่ซ้ำซ้อน

References

McMillan, S. S., King, M., & Tully, M. P. (2016, June 1). How to use the nominal group and Delphi techniques. International Journal of Clinical Pharmacy, Vol. 38, pp. 655–662. Springer Netherlands. https://doi.org/10.1007/s11096-016-0257-x
Murphy, M. K., Sanderson, C., Black, N. A., Askham, J., Lamping, D. L., Marteau, T., & Mckee, C. M. (1998). Consensus development methods, and their use in clinical guideline development. In HTA Health Technology Assessment NHS R&D HTA Programme Health Technology Assessment (Vol. 2). Retrieved from www.hta.ac.uk/htacd.htm
กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. Retrieved September 9, 2021, from http://61.19.50.59/audit/Centers/View.aspx?id=292&type=1
กานต์ เสกขุนทด. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายใน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา Development of the Internal Audit System in Local Government Administration, Chachoengsao Province. วารสารราชนครินทร์, (มกราคม-มิถุนายน), 53–62.
แนวทางการตรวจสอบภายใน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจําปงบประมาณ. (2561).
พิเชษฐ์ จันทวี, สุธาสินี ขุนเพ็ชร, & ธนภัทร เจิมขวัญ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่่อสนับสนุนงานตรวจสอบภายใน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ. (2551). Retrieved from chttp://www.audit.moi.go.th/books2551-09-23.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๕/๒๔ กุมภาพันธ์๒๕๔๒. Retrieved September 18, 2021, from
McMillan, S. S., King, M., & Tully, M. P. (2016, June 1). How to use the nominal group and Delphi techniques. International Journal of Clinical Pharmacy, Vol. 38, pp. 655–662. Springer Netherlands. https://doi.org/10.1007/s11096-016-0257-x
Murphy, M. K., Sanderson, C., Black, N. A., Askham, J., Lamping, D. L., Marteau, T., & Mckee, C. M. (1998). Consensus development methods, and their use in clinical guideline development. In HTA Health Technology Assessment NHS R&D HTA Programme Health Technology Assessment (Vol. 2). Retrieved from www.hta.ac.uk/htacd.htm
กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. Retrieved September 9, 2021, from http://61.19.50.59/audit/Centers/View.aspx?id=292&type=1
กานต์ เสกขุนทด. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายใน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา Development of the Internal Audit System in Local Government Administration, Chachoengsao Province. วารสารราชนครินทร์, (มกราคม-มิถุนายน), 53–62.
แนวทางการตรวจสอบภายใน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจําปงบประมาณ. (2561).
พิเชษฐ์ จันทวี, สุธาสินี ขุนเพ็ชร, & ธนภัทร เจิมขวัญ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่่อสนับสนุนงานตรวจสอบภายใน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ. (2551). Retrieved from chttp://www.audit.moi.go.th/books2551-09-23.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๕/๒๔ กุมภาพันธ์๒๕๔๒. Retrieved September 18, 2021, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/009/1.PDF
วิมลสิริ ศรีสมุทร. (2560). R2R E-Journal | มหาวิทยาลัยมหิดล. Retrieved September 10, 2021, from https://r2r.mahidol.ac.th/abstract.php?journal=9&aid=352
สำนักงานเขตสุขภาพที่ 5. (2564). แผนการตรวจสอบภายใน. Retrieved from http://203.157.148.202/r5w/file_send/book641622449212.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน. Retrieved September 9, 2021, from http://www.pyomoph.go.th/backoffice/files/39626.pdf
อรพรรณ แสงศิวะเวทย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงานตรวจสอบภายใน: มุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 3, 26–39. Retrieved from http://www.jisb.tbs.tu.ac.th/wp-content/uploads/2018/09/Vol4No3_Jisb61_02Oraphan.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31