การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ณฐพร ผลงาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ, ผู้ป่วยยาเสพติด, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความเหมาะสมกับบริบทของจังหวัดระยองโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการศึกษาในพื้นที่เป้าหมาย 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท้ายโขด หมู่ 4 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง และบ้านเนินสมบูรณ์ หมู่ 2 ตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีรูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างโดดเด่นของจังหวัด เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1) สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชน 2) ผู้ป่วยยาเสพติด และ 3) ญาติของผู้ป่วยยาเสพติด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม หมู่บ้านละ 15 คน รวมทั้งหมด 30 คน โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Control: AIC) ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์สามเส้า (triangulation) ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ถึงมิถุนายน 2564

 

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย 2 หมู่บ้านมีกระบวนการดำเนินงานที่คล้ายกัน มีการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ตามหลักการ 9 ขั้นตอน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผู้นำชุมชน/ภาคประสังคม ในการค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชน มีหน่วยงานภาครัฐเป็นที่ปรึกษา ดังนั้น เพื่อให้รูปแบบการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดมีความเหมาะสมกับบริบทของจังหวัด ควรมีหลักการดำเนินงาน 3 ส่วนคือ การจัดการดูแลผู้ป่วย (Case Management) การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสมรรถสภาพ (Holistic Rehabilitation) และ ภาคีเครือข่าย (Network) เพื่อให้กระบวนการความร่วมมือในการประเมิน วางแผน จัดการและให้คำปรึกษาในการเลือกหนทางรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการดูแลตามความต้องการที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสื่อสาร และการจัดการทรัพยากรที่ดี

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2555). คู่มือการดำเนินงานมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือผู้ปฏิบัติงานการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบการรู้คิด-พฤติกรรมบำบัด. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง. สมุทรสาคร.
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวปฏิบัติที่ดี. นนทบุรี.
ชโลธร อัญชลีสหกร. (2558). กระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธราเทพ โอชารส และคณะ. (2554). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาสารคาม.
นันทา ชัยพิชิตพันธ์. (2556). การบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเสพติด.กรุงเทพมหานคร.
สุรีรัตน์ ปราณี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด กรณีศึกษา. มหาวิทยาลัยรังสิต.
อาภาศิริ สุวรรณานนท์. (2558). การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร.
เอกรัตน์ หามนตรี. (2561). ความสำเร็จของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2562. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. (2564). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2563. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง.
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Australia: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30