การสำรวจพฤติกรรมการจัดยากลุ่ม Look-Alike Sound-Alike ของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ทิพยาภรณ์ สุริวัลย์ โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

Look-Alike Sound-Alike, LASA, การจัดยา, ความคลาดเคลื่อนทางยา

บทคัดย่อ

การจัดยากลุ่มชื่อพ้องมองคล้าย (Look-Alike Sound-Alike, LASA) เป็นปัญหาทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) มีวัตถุประสงค์ (1) สำรวจพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดยากลุ่ม LASA (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดยากลุ่ม LASA การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเภสัชกรรมที่มีหน้าที่จัดยา 87 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 26 ข้อ แบ่งเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดยา การทบทวนความถูกต้องก่อนจัดยา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดยา ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการจัดยา และคุณลักษณะเฉพาะของผู้จัดยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ เภสัชกร 3 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปแบบอุปนัย ข้อความบรรยายและวิเคราะห์เนื้อหา เก็บข้อมูลเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม 2564 ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดยาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดยา พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนความถูกต้องก่อนจัดยา พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการจัดยา และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะเฉพาะของผู้จัดยา อยู่ในระดับที่ดี ยกเว้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดยาในเรื่องการเซ็นชื่อผู้จัดยาบนใบสั่งยา ซึ่งได้คะแนนต่ำ และพบปัญหาบ้าง ในด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของผู้จัดยาในเรื่อง ความตั้งใจจัดยาโดยไม่มีกิจกรรมอื่น และการหาอุปกรณ์ช่วยเมื่อมีปัญหาสายตา ผลการวิจัยเชิงคุณภาพเสนอแนะให้มีข้อกำหนดการเซ็นชื่อบนใบสั่งยา และการจัดวางกำลังคนให้เหมาะสมกับงาน อย่างไรก็ตาม ควรได้มีการนำระบบที่มีอยู่แล้ว มาทบทวนเพื่อร่วมเป็นแนวทางการปฏิบัติให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

References

กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม, ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. (2552). ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัย ของผู้ป่วย. Veridian E-Journal Silpakorn Universiry, 2(1).

กอบแก้ว อ้นอาจ, กษมา กวดสันเทียะ. (2560). การศึกษาปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อความคลาดเคลื่อนใน กระบวนการตรวจสอบและจ่ายยาของเภสัชกร.รายงานการวิจัยการจัดการระบบยาในโรงพยาบาลเชิงปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครปฐม. (2563). รายงานอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา งานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก. โรงพยาบาลนครปฐม.

ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต, เยาวลักษณ์ อ่ำอำไพ. (2552). การจัดการระบบยา เพื่อความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล: บทวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสในการพัฒนา. Thai Pharmacentional and Health Science Journal, 4(1), 127-135.

ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต. (2556). การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยของยาที่มีรูปคล้ายเสียงพ้องในโรงพยาบาลของรัฐ. ปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุษกร ไพศาลโรจนรัตน์, ปิยะวัน แสนเกษม, ศุทธินี เฮงหรี่ประสพโชค, ผณินทร ธัญวิริยะ. (2554). ความคลาดเคลื่อนทางยาในขั้นตอนการจัดเตรียมยาของแผนกผู้ป่วยนอก รพช. ครบุรี. สืบค้นจาก https://med.mahidol.ac.th/commed/sites/default/files/public/pdf/Ex_Korn_9_54.pdf

ปิยนุช สามทิพย์. (2557). การศึกษาเชิงรุกของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาของเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 24(1), 20-31.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก. (2560). การแก้ปัญหายาชื่อพ้องมองคล้ายในเชิงระบบ. วารสารเภสัชกรรมไทย, 9(1), 251-258.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก. (2561). สถานการณ์ยาชื่อพ้องมองคล้ายในประเทศไทย. วารสารมฉก.วิชาการ, 22 (43-44), 205-216.

วัฒนา โต๊ะสิงห์, ตัสกร สุธิไพศาลสกุล, หัสยา จารุพันธุเศรษฐ์. (2559). การลดปัญหาความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาที่เกิดจากยาชื่อพ้องมองคล้าย. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.

ศริลรัชน์ ฤกษ์ชัยศรี, พาณี สีตกะลิน, พรทิพย์ กีระพงษ์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีความสัมพันธ์ต่อการ เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในกระบวนการจัดยาผู้ป่วยนอก แผนกเภสัชกรรมชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 225-230.

สุชาติ เปี่ยมปรีชา. (2561). ผลของการปรับชื่อยาด้วยภาษาไทย สำหรับฉลากของยาชื่อพ้องต่อความคลาดเคลื่อนในการจัดยา. Thai Journal of Pharmacy Practice, 11(1).

สุรีรัตน์ ลำเลา, ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2560). การพัฒนาระบบก่อนการจ่ายยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลหลวงพ่อ ทวีศักดิ์ ชุตินธโรอุทิศ กรุงเทพมหานคร. Veridian E_Journal Science and Technology Silpakorn University, 4(3), 117-137.

อังศุมาลิน ยิ่งยืน, สิรวิชญ์พันธนา, เอกรัฐ เหาะเหิน, ชนม์นิภา เสมใจดี, อรุณรัตน์ ทองมี. (2559). Safety marker สำหรับการลดความคลาดเคลื่อนในการจัดยางานบริการเภสัชกรรมคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลบึงกาฬ. สืบค้นจาก http://bkh.moph.go.th/kmbkh/wp-file/r2r-2559/r2r59_2.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15 — Updated on 2022-03-19

Versions