ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
Type 2 diabetes, Food Consumption Behaviors, Bang Yai District, เบาหวานชนิดที่ 2 , พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, อำเภอบางใหญ่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอบางใหญ่ จำนวน 9 แห่ง จำนวน 212 คน ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะปลายนิ้วอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยมีค่าน้ำตาลตั้งแต่ 155 mg/dLขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ ระยะเวลาป่วยระดับน้ำตาลในเลือด ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ด้วยสถิติเชิงอนุมาน แบบไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.2 และในระดับมาก ร้อยละ 25.5 ด้านทัศนคติเกี่ยวกับบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี ร้อยละ 57.1 ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.2 และในระดับปานกลาง ร้อยละ 11.8 ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า อายุ และการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
References
กรมอนามัย. (2564). โครงการเด็กวัยเรียนวัยรุ่นสูงดีสมส่วน แข็งแรงและฉลาด. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก http://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=4351.
กรมอนามัย. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักโภชนาการ. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/webupload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/m_magazine/33500/1220/file_download/86bed259c0e34b3466151c1e0c2c79b7.pdf
กรมอนามัย. โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ (อายุ 1 วัน-19 ปี) ตามเกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูง และเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2538 ของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์. (2561). Normal growth and growth monitoring. Developmental Behavioral Pediatric. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564. สืบค้นจาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20180606120233.pdf.
ใจรัก ลอยสงเคราะห์ (online). ทำอย่างไร...ให้เด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน. กลุ่มส่งเสริมโภชนาการเด็กวัยเรียน
สำนักโภชนาการ. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. สืบค้นจาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/dmm/download?id=40508&mid=31943&mkey=m_document&lang=th&did=14346.
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง, ภัทรภร เจริญบุตร, นพรัตน์ ส่งเสริม. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการอาหารและโภชนาการแก่เด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตาบลไร่น้อย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9 (2), 137-147.
ณัฏฐิรา ทองบัวศิริไล, กุลพร สุขุมาลตระกูล, ภารดี เต็มเจริญ. (2554).ประสิทธิผลของการใช้ชุดคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านโภชนาการต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564. สืบค้นจาก http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1425522518.pdf
ราวรรณ สมบุญนาค. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายในนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในจังหวัดอ่างทอง. วารสารสุขศึกษา, 43 (1), 38-47.
เรืองวิทย์ ตันติแพทยางกูร. (มปป.). บทบาทของกิจกรรมกายและการนอนหลับต่อความสูงของเด็ก. กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.
วัลลีย์ คุณยศยิ่ง, พูลศักดิ์ ฉัตรชัยเจนกุล, วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์, ปฏิญญา ศรีใส, นี ผุดผ่อง, นิธิวัชร์ แสงเรือง, อานนท์ กุลธรรมานุสรณ์, นารีรัตน์ ผุดผ่อง, มธุดารา ไพยารมณ์, และระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. (2564). ผลการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนโดยการให้นมกล่องเสริม: กรณีศึกษาพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ, 2 (1), 16-29.
ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรอุมา โภคสมบัติ, กิตติ ลาภสมบัติศิริ, และชนกานต์ ด่านวนกิจเจริญ. (2561). สถานการณ์ภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2558. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 12 (27), 23-42.
Cervo, Mavil May C., Mendoza, Diane S., Barrios, Erniel B., and Panlasigui, Leonora N. (2017).
Effects of nutrient-fortified milk-based formula on the nutritional status and psychomotor skills of preschool children. Journal of Nutrition and Metabolism, Vol. 2017, 1-16. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2564. สืบค้นจาก https://doi.org/10.1155/2017/6456738.
DeBoer Mark D., Agard Hannah E., and Scharf Rebecca J. (2014). Milk intake, height and body mass index in preschool children. Archives of Disease in Childhood, 100(5), 460-465.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม